จากดินแดนที่อยู่เหนือสุดในสยามประเทศ ติดกับชายแดนสามแผ่นดิน เมืองล้านนา ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาถึงวิถีเกษตรกรรมของผู้คนในจังหวัด
ซึ่งส่วนใหญ่มักจะประสบกับปัญหาดินเสื่อมโทรมและดินถล่มอยู่เสมอ ซึ่ง จ.เชียงราย คือจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของประเทศไทย มีชายแดนติดกับประเทศพม่าและประเทศลาว จึงทำให้ผู้คนในแถบนี้มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการผสมกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมจากล้านนา รัฐฉาน และสิบสองปันนา ผู้คนใน จ.เชียงราย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มชนที่ราบ คือ ชนชาวพื้นเมือง ซึ่งอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ตั้งแต่โบราณ และกลุ่มชนที่ราบสูง ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าอาศัยบนภูเขาสูง ซึ่งผสมผสานไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย เช่น ชาวอีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง และม้ง รวมไปถึงชนกลุ่มน้อยเชื้อสายจีนพลัดถิ่น
วิถีชีวิตของกลุ่มชนที่ราบสูงส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด และรวมไปถึงชา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงของเชียงราย ชาที่มีชื่อเสียงที่สุดของเชียงราย ว่ากันว่าต้องมาจากดอยแม่สลองเท่านั้น เพราะชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีนแถบมณฑลยูนนาน ซึ่งมีวัฒนธรรมในการดื่มชามานับพันๆ ปี นอกจากนั้นแล้วที่นี่มีอากาศเย็นสบายและมีความชื้นเหมาะในการเจริญเติบโตของชาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาพันธุ์อู่หลง
จากดอยแม่สลอง เราเดินทางลงมาที่ตัว จ.เชียงราย ซึ่งระหว่างทางเราสังเกตเห็นไร่สับปะรดเรียงรายตลอดสองข้างทาง ด้วยความอยากรู้จึงแวะจอดข้างทางเพื่อสอบถาม เราก็พบกับชาวบ้านที่กำลังแปรรูปสับปะรด เลยทำให้ทราบว่าที่ จ.เชียงราย นี้มีชื่อเสียงในเรื่องของสับปะรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสับปะรดพันธุ์ภูแล ที่นั่นเราได้พบกับคุณลุงเอนก ซึ่งกำลังนำสับปะรดมาส่งและขออาสาพาทีมงานโลก 360 องศา ไปเยี่ยมชมไร่ของคุณลุง
คุณลุงเอนก เล่าให้เราฟังว่า สับปะรดภูแลแม้จะมีลูกไม่ใหญ่โตมากนัก แต่ขายได้ราคาดี อีกทั้งราคาขายก็ไม่เคยตกต่ำ นอกจากนั้นแล้วยังดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งลุงเอนกใช้เพียงปุ๋ยชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดินเท่านั้น ก็เพียงพอที่จะทำให้สับปะรดมีคุณภาพ รสชาติหวานฉ่ำและเป็นที่ต้องการของตลาด
ทำให้คุณลุงเอนกยึดอาชีพนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จนสามารถส่งเสียลูกๆ เรียนจนจบปริญญาได้ มากไปกว่านั้น คุณลุงยังบอกกับเราอีกกว่า สับปะรดเป็นพืชที่รากมีคุณสมบัติในการยึดเกาะดินสูง ทำให้ไร่สับปะรดของคุณลุงไม่เคยเกิดปัญหาดินถล่มหรือหน้าดินถูกกัดเซาะ ต่างจากการปลูกข้าวไร่
ซึ่งทำให้หน้าดินเสื่อมโทรมและนำไปสู่การพังทลายของหน้าดิน เพราะรากของข้าวไร่ไม่มีคุณสมบัติในการยึดเกาะหน้าดิน จนทำให้เมื่อเกิดฝนตกหนักจนดินอุ้มน้ำไม่ไหว ในที่สุดก็ทำให้เกิดปัญหาดินถล่มตามมาอย่างที่เป็นข่าวในทุกๆ ปี ซึ่งการแก้ปัญหาดินถล่มบนพื้นที่ทางการเกษตรเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ แต่จะต้องมีการวางแผนและลงมือปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการวิธีกลและมาตรการวิธีพืช
มาตรการวิธีกล คือ การนำวิทยาการทางด้านการก่อสร้างมาใช้ในการชะลอ ดักจับ หรือขัง กระบวนการไหลของน้ำ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ ป้องกันไม่ให้การไหลของน้ำไปกัดเซาะหน้าดิน ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง แต่ให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว ส่วนมาตรการต่อมา คือ มาตรการวิธีพืช คือ การแก้ปัญหาดินถล่มด้วยหลักการทางธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชสลับกันแปลงหญ้าแฝกบนพืนที่ลาดชัน และการทำเกษตรกรรมแบบขั้นบันได้ เป็นต้น
ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มีต้นทุนต่ำ แต่ให้ผลลัพธ์ค่อนข้างช้า เพราะต้องอาศัยกระบวนการเจริญเติบโตของพืช อย่างไรก็ตามทั้งสองมาตรการนี้จำเป็นที่ต้องกระทำควบคู่กัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการเกิดดินถล่มบนพื้นที่การเกษตร ซึ่งในประเทศไทยมีหน่วยงานสำคัญที่คอยดูแลและจัดการปัญหาดังกล่าว นั่นก็คือ กรมพัฒนาที่ดิน หากเกษตรกรต้องการรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาดินถล่มในพื้นที่เกษตรกรรม สามารถเข้ารับคำปรึกษาได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด
ทุกวันนี้ถ้าหากจะพูดถึงข่าวคราวที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ ดูเหมือนว่าข่าวคราวเรื่องของภัยพิบัติทางธรรมชาติจะพบเห็นได้บ่อยครั้งขึ้น ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่ได้มีสาเหตุมาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่ว่าก็มาจากฝีมือมนุษย์อีกด้วย เฉกเช่นเรื่องของดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นจากที่มนุษย์เราเข้าไปบุกรุกเพื่อจะทำการเกษตรหรือสร้างสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจริงๆ แล้วเรามีวิทยาการการจัดการเพื่อป้องกันหรือแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้วมนุษย์สามารถอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้อย่างสงบสุขและไม่เบียดเบียนธรรมชาติ
ขอบคุณข้อมูลจาก posttoday.com
Post Views: 44
How to
การเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรด และพันธุ์ไก่ไข่ที่นิยม
ไก่ไข่พันธุ์โร้ดไอส์แลนด์เรดนั้น เป็นไก่ไข่ ที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันมาก ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 220-270 ฟองต่อปี
อ่านบทความนี้ต่อHerbs information
ถั่งเช่า สมุนไพรที่รวมตัวกันระหว่างพืชและสัตว์
ต้นกำเนิดถั่งเช่า มาจากการผสมกันระหว่าง เห็ดราที่เป็นเชื้อปรสิต และหนอนผีเสื้อกลางคืน ถือเป็นการรวมตัวกันระหว่าง
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เร่งฟื้นฟูเกษตรกร
ข่าวเกษตรวันนี้ โดยกระทรวงเกษตรมีแผนและนโยบาย เร่งช่วยเหลือเกษตรกร หลังปัญหาน้ำท่วมเริ่มมีการคลื่คลายมากแล้วนั้น ยันไม่มีงานอืดแน่นอน โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้ตั้งคณะกรรมการติดตามโครงการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรหลังน้ำลดตาม 2 ชุด
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ใช้กับพืช
หลายคนคุ้นชินกับคำว่า จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติ เป็นฮอร์โมนเร่งโตให้กับพืช แต่รู้หรือไม่ว่า มีอะไรมากกว่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การดูกล้วยด่าง ว่าแท้หรือไม่ ทำอย่างไร
ขั้นตอนในการดูว่า กล้วยด่าง ที่ซื้อมานั้น แท้หรือเทียม มีเทคนิคการตรวจสอบไม่ยาก เพราะตำแหน่งและความแตกต่างกันระหว่าง
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การเพาะเห็ดนางฟ้า ให้ได้ผลผลิตดี
การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความชำนาญในหลายด้าน และระบบการผลิตที่ไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะต้องใช้ถึง 4 ขั้นตอนแยกได้ 4 ขั้นตอน
อ่านบทความนี้ต่อ