ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ

ไม่รู้เหมือนกันว่า หลายๆ คนจะเคยสังเกตไหม เวลาที่จะเลือกซื้อผักและผลไม้ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า

จะพบเห็นสติ๊กเกอร์ของสินค้าที่บ่งบอกถึงการผลิตอย่างปลอดภัยจากสารพิษ เช่นระบุว่า เกษตรอินทรีย์ ผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ซึ่งคงเข้าใจว่าเป็นผักที่รับประกันด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค

แต่ไม่ทราบว่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในกระบวนการเพาะปลูกอย่างไร ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค จึงควรรู้จักและเข้าใจถึงความแตกต่างของผักดังกล่าว เพื่อที่จะได้เลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง

เกษตรอินทรีย์ คือ การเกษตรที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศน์การเกษตรได้ก่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนเน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หรือสรุปก็คือ ห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสมดุลทางธรรมชาติด้วย โดยมีมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

ผักไร้สารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีพิษใด ๆ ทั้งสิ้น

ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๖๓ พ.ศ. ๒๕๓๘

ผักอนามัย คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อตามมาตรฐาน ซึ่งผักอนามัยจะมีการผลิตเหมือนกับผักปลอดภัยจากสารพิษ แต่จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร

ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ

จะเห็นได้ว่า จากข้อแตกต่างของสินค้าเกษตรที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คงจะทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้จริงๆ

ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

Agricultural articles

Organic Thailand กับการเกษตรอินทรีย์

สถานการณ์ในประเทศไทย ช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น เกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ มีการพัฒนาโดยภาพรวมเริ่มขยับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ต้นประยงค์ การปลูกและขยายพันธุ์

การปลูกและขยายพันธุ์ต้นประยงค์ ทำแบบไหนให้ได้ผลดีสุด มาดูวิธีกันเลย

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

นับได้ว่า พืชสมุนไพร ถูกแฝงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมานานแล้ว เพราะทั้งอาหารที่บริโภคทุกวันนั้นมีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรแทบทั้งสิ้น ทั้งอร่อยและมีสรรพคุณช่วยในการบำบัดโรค รวมไปถึงการดื่มเพื่อดับกระหายคลายร้อน โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ในแบบเกษตรอินทรีย์

พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกษตรกรใช้ในการปลูกมีหลายสารพันธุ์เช่น แม่รี่วอชิงตัน (Marywashington) , แคลิฟอร์เนีย 500 (Califormia 500) ,

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

แนะนำการปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ สำหรับทำเกษตร

การปรับปรุงดิน สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูก ถือเป็นหัวใจหลักเลยก็ว่าได้ หากดินไม่ดี ปลูกอะไรก็ยากจะงอกงาม

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

อันตรายจากสารกันชื้นในอาหาร

ในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีทางด้านอาหารมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร

อ่านบทความนี้ต่อ