ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้

เมื่อการปลูกพืชผัก “ดิน” และ “ปุ๋ย” จึงมีความจำเป็นอย่างสูง เพื่อเสริมธาตุอาหารให้เพียงพอแก่พืชนำไปใช้ ให้มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

แต่การจ่ายเงินเพื่อซื้อปุ๋ยชนิดหนึ่งต้องใช้ทุนมาก วันนี้ขอนำเสนอ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ เศษพืชเหลือใช้ไม่มีประโยชน์ หลายคนกวาดทิ้งจุดไฟเผาไปโดยเสียคุณค่าเปล่า ๆ ก็มี อยากให้ลองใหม่ ถ้าจะทำให้ดินมีคุณภาพมากขึ้นเพื่อใช้เป็นดินปลูก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวิธีทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ หรือเศษพืชผักเหลือใช้

ใช้ใบไม้ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ให้ได้ผลต้องทำอย่างไร

เนื่องจากปุ๋ยหมักชีวภาพ ถือเป็นปุ๋ยชนิดที่ดีที่สุดที่สามารถทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีมาก และวัสดุหลักอย่างเศษพืช ผัก หรือ “เศษใบไม้” ที่ร่วงลงดิน จะเก็บกวาดไปเผาก็สร้างมลภาวะ ลองเอามาใช้ทำปุ๋ยหมักกันดู ง่ายมาก วิธีทำไม่ยุ่งยาก ได้ปุ๋ยหมักจากใบไม้ ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ดินได้ดีมาก ลดการซื้อปุ๋ยได้เยอะ

วัสดุสำหรับทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้

  • เศษใบไม้ พืช ผัก ฟางข้าว ใช้ได้ทั้งแบบแห้งแล้ว หรือที่ยังเปียกชื้นอยู่ก็ได้
  • น้ำ เพื่อใช้เพิ่มความชื้นให้กองปุ๋ย
  • ปุ๋ยคอก หรือ มูลสัตว์ จะเป็นขี้ไก่ ขี้หมู ขี้วัว หรือมูลอะไรก็ได้
  • ถัง กล่อง ลัง กระสอบ หรืออะไรก็ได้ที่สามารถใส่เศษใบไม้ให้ได้เยอะ ๆ หรือถ้าไม่มีก็ใช้ตาข่ายเหล็กหรือวัสดุทำคอกกั้นกองเศษใบไม้ก็ได้

ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้

เริ่มวิธีการหมักปุ๋ยชีวภาพ จากเศษใบไม้

พยายามผสมคลุกเคล้าระหว่างเศษใบไม้และปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน เศษใบไม้แห้ง 100 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 10 ส่วน ให้เข้ากันได้ดี ถ้าเศษวัสดุแห้งจะทำให้การคลุกผสมจะง่ายขึ้น แต่หากมีความชื้นอยู่ก็ไม่มีผลอะไร วิธีที่ผู้เขียนทำคือ ทำแบบขี้เกียจ โดยการใช้กองเศษใบไม้แห้งไว้ล่างสุด ปิดทับด้วยปุ๋ยคอก แล้วเศษใบไม้ทับอีกชั้น และปุ๋ยคอกอีก สลับกันไปเป็นชั้น ๆ ประมาณ 3-4 ชั้น ชั้นบนสุดอาจใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มได้เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ปิดทับด้วยเศษใบไม้อีกชั้นพูน ๆ

เมื่อได้ที่แล้วก็ใช้น้ำสะอาด รดเพื่อให้กองปุ๋ยมีความชื้นสะสมอยู่เสมอ เพื่อเร่งให้จุลินทรีย์ในปุ๋ยคอกมีการกระจายตัวและทำการย่อยสลายเศษใบไม้ การรดน้ำไม่ต้องรดจนชุ่มมาก ถ้ากลัวว่าน้ำจะไหลลงไปไม่ถึงชั้นล่าง แนะนำให้เอาไม้ยาว ๆ แทงปักลงไปถึงชั้นล่างสุด ปักไว้เป็นจุด ๆ ประมาณ 3-4 ท่อน ขึ้นอยู่กับว่ากองปุ๋ยใหญ่แค่ไหน การทำแบบนี้ก็เพื่อให้อากาศและน้ำสามารถไหลลงไปถึงในชั้นล่างได้สะดวกขึ้น วิธีแบบคนขี้เกียจนี้ ไม่ต้องเสียเวลามาพลิกกองปุ๋ย ทิ้งไว้อย่างนั้นให้จุลินทรีย์มาจัดการเอง ประมาณ 30-40 วัน จะได้กอง ปุ๋ยหมักชีวภาพ พร้อมใช้ ระหว่างนั้นก็รดน้ำวันเว้นวัน

ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้

วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป

วิธีทั่วไปที่เป็น วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบชีวภาพ คือการต้องมาพลิกกลับกองปุ๋ยหมัก และรดน้ำเพิ่มในทุก ๆ วัน ทำซ้ำ ๆ อาจใช้ตัวช่วยย่อยสลายเศษซากพืชร่วมด้วย เช่น น้ำหัวเชื้อปุ๋ยหมัก EM หรือใช้กากน้ำตาลผสมน้ำจุลินทรีย์ ผสมน้ำสะอาดให้เจือจาง นำมารดซ้ำบนกองปุ๋ย ประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้กองปุ๋ยหมักที่สามารถนำมาใช้บำรุงดินได้ นี่เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักแบบวิธีมาตรฐานที่รู้จักกันดี

จากระยะเวลาการหมักแบบชีวภาพ ในการเร่งจุลินทรีย์ให้กระจายตัวและย่อยสลายเศษใบไม้ โดยให้ความชื้นจากน้ำ ทำให้จุลินทรีย์ขยายตัวเร็วขึ้น อาจทำให้กองปุ๋ยมีการยุบตัว เราสามารถเติมเศษใบไม้ที่ผสมกับปุ๋ยคอกเพิ่มเข้าไปได้เรื่อย ๆ โดยการเกลี่ยผสมเข้ากับกองปุ๋ยชั้นบนสุด หรือเกลี่ยกองปุ๋ยไว้ด้านข้าง ๆ เพื่อนำกองปุ๋ยชุดใหม่มาหมักต่อ ทำแบบนี้จะได้ปุ๋ยพร้อมใช้ไปตลอด ไม่มีวันหมด

ทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้

หมักปุ๋ยชีวภาพพร้อมใช้ใน 40 วัน

ในขั้นตอนการตรวจเช็คสภาพ ว่าปุ๋ยที่หมักนั้นมีความพร้อม สามารถนำไปใช้ได้แล้วหรือยัง ใช้วิธีการสังเกตุว่า กองปุ๋ยมีลักษณะร่วนซุย สีน้ำตาลเข้มหรือดำ มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อน ใกล้เคียงกันในทุกจุด ถ้าตรงตามเงื่อนไข ก็ถือว่าพร้อมนำ “ปุ๋ย ชีวภาพ ที่ ผ่านการหมัก” นี้ไปใช้งานได้ การใช้งานก็ไม่ยาก อาจมีการตักปุ๋ยมาผึ่งลมให้แห้งโดยการเกลี่ยกระจายกองออก เมื่อได้แล้ว ก็นำไปใส่โคนต้นไม้ หรือผสมดินเพื่อทำเป็นดินปลูกต่อไป โดยปกติแล้ว อัตราส่วนที่ต้องใช้งานจะอยู่ที่

ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษใบไม้ 1 ส่วน ผสม ดิน 10 ส่วน ใช้เป็นดินปลูกและปุ๋ยบำรุงดิน

ข้อแนะนำ : การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ด้วยวิธีโรยไว้โคนต้นพืช หรือโรยลงหน้าดิน ควรทับด้วยเศษใบไม้แห้งอีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความชื้น ทำให้จุลินทรีย์มีการขยายตัวได้ดีขึ้น หรืออาจใช้วิธีการพรวนดินร่วมด้วย จะทำให้ดินมีคุณภาพดีและมีธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้นด้วย

Best Infomal

การเลี้ยงหมูหลุมต้นทุนต่ำ

ปัจจุบัน การเลี้ยงหมู นั้นนับว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากวิธีการเลี้ยงในแบบปกติ เปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะเชิงการค้าค่อนข้างมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการที่ต้องซื้ออาหารสำเร็จ

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

โคกหนองนาโมเดล หรือแค่ศิลปะในการขุดบ่อ

บทความของโมเดลนี้มีความนิยมกันมากช่วงปลายปี 63 รวมทั้งต่อจากนั้นก็กลายเป็นแค่กระแส ใครอยากทำอะไรก็ได้อิสระโดยไม่ได้อิงจุดประสงค์หลักที่ถูกต้อง

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Organic Thailand กับการเกษตรอินทรีย์

สถานการณ์ในประเทศไทย ช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น เกี่ยวกับการเกษตรอินทรีย์ มีการพัฒนาโดยภาพรวมเริ่มขยับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

หัวผักกาดแดง ให้คุณค่า

รู้หรือไม่ว่า หัวผักกาดแดง แรงฤทธิ์สู้กับมะเร็งรับมือกับเนื้อร้ายของตับอ่อนได้

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

มะเฟืองผลไม้ควบคุมน้ำหนัก

ผลไม้พื้นบ้านควบคุมน้ำหนักที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง มะเฟือง จัดเป็นผลไม้ที่รูปทรงผลสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

กินเจ ต่างกับ กินมังสวิรัติอย่างไร มีคำตอบ

ช่วงนี้ก็เข้าเทศกาลกินเจกันแล้ว สำหรับกินเจ ปี 2556 นี้อยู่ระหว่างวันที่ 14 – 23 ตุลาคม 2566

อ่านบทความนี้ต่อ