ข้าววัชพืช สายพันธุ์จากข้าวป่าที่ผสมกับข้าวปลูก กลายเป็นข้าวผี ที่ชาวนาไม่ต้องการ
ข้าวชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza rufipogon Griff ซึ่งยืนยันแล้วว่า มันเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ และข้าวปลูกในท้องนาท้องไร่ ทำให้ได้คุณสมบัติในการอยู่รอดได้ดี และแพร่ขยายพันธุ์ได้เก่ง แต่ข้อด้อยของมันคือ ไม่มีคุณภาพ และกลายเป็นอุปสรรคสำหรับการทำนา ของชาวนาบนโลกใบนี้
ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร
การจำแนกข้อแตกต่าง ระหว่างข้าวแต่ละชนิดนั้น หากไม่มีความชำนาญ ยากที่จะแยกออก โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า กว่าที่ชาวนาจะรู้ตัวว่ามีข้าววัชพืชเต็มท้องนาแล้ว ก็ถึงตอนที่ข้าวออกรวง แต่ถึงตอนนั้นก็สายไปเสียแล้ว ดังนั้น การจำแนกจึงสำคัญสำหรับชาวนา เพื่อให้การจัดการเป็นไปอย่างได้ผล
ข้าววัชพืช มาจากการกลายพันธุ์ และผสมพันธุ์กันระหว่าง ข้าวปลูก และข้าวป่า
ข้าวปลูก มีลักษณะอย่างไร
ก็คือข้าวปกติ ที่ชาวนาปลูกในแปลงนาไร่ทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. ซึ่งสายพันธุ์นั้น ต่างก็มีมากกว่า 100 ชนิด ส่วน ข้าวไทย จะมีลักษณะเด่นเป็น ข้าว GI ล้วนแต่เป็นพันธุ์ดีที่ถูกคัดเลือกแล้ว ให้ตรงตามลักษณะความต้องการของตลาด เรียกว่า เป็นข้าวเพื่อการค้า เน้นการบริโภคเป็นหลัก เช่น ให้ผลผลิตสูง หรือให้มีสีขาว หรือสีอื่น ๆ ตามสายพันธุ์ คุณภาพหุงต้ม นุ่มและหอม รสชาติดี ต้านทานโรคและแมลง
และเพราะเป็นข้าว ที่ถูกคัดเลือกให้ใช้เฉพาะที่มีคุณสมบัติสายพันธุ์ดี จึงมีลักษณะที่ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถปลูกในเชิงพาณิชย์ได้ ให้ผลผลิตสูง สีสวย หุงขึ้นหม้อ เหมาะจะนำไปรับประทาน ส่วนสายพันธุ์ที่ร่วนแข็ง ก็จะถูกพัฒนาไปในส่วนของ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ทุกสายพันธุ์ ล้วนแต่นำข้อดีของข้าวป่ามาใช้ เช่น ความต้านทานต่อโรค และแมลงศตรูพืชที่สำคัญหลายชนิด เจริญเติบโตเร็ว เมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกัน โดยช่วงเก็บเกี่ยวเร็วสุด ประมาณ 28-30 วัน ก็พร้อม โดยตัดคุณสมบัติเรื่อง หางของข้าวเปลือก และขนาดของเมล็ดที่เล็ก ออกไปโดยสิ้นเชิง
ข้าวปลูก มีลักษณะเมล็ดจะยาว ไม่มีหาง ออกรวงใกล้เคียงกัน สุกแก่พร้อมกันทั้งรวง และเมล็ดข้าวเต็มมากกว่า 95% เมล็ดร่วงยากเมื่อเอามือลูบรวง
ลักษณะของข้าวป่า
เป็นข้าวท้องถิ่นที่กำเนิดมาคู่กับโลกนี้ ถือเป็นบรรพบุรุษของข้าวปลูกในปัจจุบัน มีทั้งในที่ลุ่ม ที่ดอน และแบ่งได้หลายชนิดเช่นกัน แต่ทุกสายพันธุ์มีลักษณะสำคัญที่ตรงกันคือ เมล็ดในรวงเดียวกัน สุกแก่ไม่พร้อมกัน อาจเริ่มตั้งแต่ 9-30 วัน และเมื่อสุกแก่แล้ว ก็จะร่วงจากรวงทันที เมล็ดไม่มีระยะพักตัว หรือมีก็นานหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกมีหลายสี มีหางยาว เม็ดข้าวสารเล็ก
เมล็ดข้าวป่าสั้นป้อม หางยาวกว่า 10 เท่าของเมล็ด สังเกตุได้ชัดเจน ออกรวงไม่พร้อมกัน สุกแก่ไม่พร้อมกันทั้งรวง ข้าวเต็มเมล็ดประมาณ 5-10% เมล็ดร่วงง่ายเมื่อเอามือลูบรวง
คุณสมบัติเด่นของ ข้าวป่า คือ เมล็ดมีระยะพักตัวที่หลากหลาย ตั้งแต่ ไม่มีระยะพักตัวเลย คือหล่นลงดินแล้วงอกเลย ภายใน 1-2 วัน ไปจนถึง ระยะพักตัวนานหลายปี คือสามารถเก็บไว้ปลูกได้ในปีถัดไป หรือในอีกหลายปีก็ได้ เรียกว่า อัตราการอยู่รอดสูงมาก อีกทั้งยังคงอัตราการงอกไว้สูงอีกด้วย จึงไม่แปลกใจที่ข้าวท้องถิ่นเหล่านี้ยังคง ไม่สูญพันธุ์
เมล็ดข้าวเปลือก และข้าวกล้องของข้าวป่านั้น จะมีหลายสี บางชนิดเมล็ดอาจมีหางยาวกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ดข้าว และมีหลายสีสัน
ข้อดีตรงส่วนนี้คือ สามารถกระจายตัวไปได้ไกลด้วยแรงลม หรือสัตว์ต่าง ๆ และเมล็ดเล็ก ไม่ถูกย่อยจากน้ำย่อยของสัตว์ได้โดยง่าย ทำให้ข้าวป่า สามารถเติบโตอยู่ได้ในหลากหลายพื้นที่ กระจายพันธุ์ไปได้ทั่วทิศในวงกว้าง
ข้าววัชพืช สิ่งที่ชาวนาไม่ต้องการ
อีกหนึ่งในการกลายพันธุ์ ที่น่าตกใจ มาจาก ข้าวป่า และข้าวปลูกที่ถูกคัดเลือก สายพันธุ์จึงไม่ตายตัว ขึ้นอยุ่กับข้าวปลูกอีกทอดหนึ่ง รวมเอาข้อเด่น และข้อด้อยไว้ในสายพันธุ์เดียว มีลักษณะเด่นคือ เติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว
บางชนิดมีเมล็ดสั้นป้อม บางชนิดมีเมล็ดยาว ไม่มีหาง หรือมีแต่ไม่ยาวมาก ออกรวงไม่พร้อมกัน สุกแก่ไม่พร้อมกัน บางชนิดสุกแก่พร้อมกัน ข้าวเต็มเมล็ดจะมีประมาณ 50-95% เมื่อเอามือลูบเมล็ดจะร่วงง่ายมาก แต่บางชนิดก็ร่วงยาก
หญ้าข้าวผี หรือข้าววัชพืชนี้ มีลักษณะเหมือนต้นข้าวทั่วไป เราอาจแยกไม่ออกเลย หากอยู่ในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ตามท้องถิ่น ตามลักษณะเด่นของมัน เช่น ข้าวหาง เพราะมีหางยาวเหมือนข้าวป่า หรือเหมาเรียกข้าวป่าว่า ข้าววัชพืช ไปเลยก็มี
ข้าววัชพืช การระบาดครั้งแรก
จากหลักฐาน พบว่า มีการระบาดรุนแรงครั้งแรกในประเทศไทย เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ในนาหว่านน้ำตม ที่ตำบลเขาสามสิบหาบ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และในนาหว่านข้าวแห้ง ในเขตจังหวัดนครนายก และปราจีนบุรี
การระบาดเริ่มขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันปี พ.ศ. 2548 ข้าววัชพืช ก็กลายเป็นปัญหาร้ายแรง ที่พบในพื้นที่ทำนาหว่านน้ำตม จำนวนหลายแสนไร่ ทั้งในเขตภาคกลาง จนถึงเหนือตอนล่าง ทำความเสียหายต่อผลผลิตข้าวได้ตั้งแต่ 10-100% กระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงพบเห็นการระบาด
ข้าววัชพืช นี้บางพื้นเรียกต่างกัน เช่น ข้าวดีด ข้าวเด้ง เพราะเมล็ดแก่เร็ว เมื่อถูกลมพัด หรือคนไปสัมผัสรวง เมล็ดก็จะร่วงทันที บางแห่งเรียก ข้าวลาย เพราะเมล็ดมีเปลือกลาย บางแห่งเรียก ข้าวแดง เพราะเมื่อแกะเปลือกออก จะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง บางแห่งเรียก ข้าวดาวกระจาย เพราะจากลักษณะรวง จะกางออก และเมื่อเมล็ดแก่ จะร่วงและกระเด็นกระจายไปรอบ ๆ ต้นข้าว
จากการศึกษาของหน่วยงานหลายแห่ง พบว่า
ข้าววัชพืช เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ กับข้าวปลูก
โดยข้าวลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีการกระจายตัวของสายพันธุ์เป็นหลายลักษณะ โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญเติบโตในแปลงนา โดยลักษณะส่วนใหญ่ ไม่เป็นที่ต้องการของเกษตรกร
เพราะการระบาดหรือมีข้าววัชพืชในแปลงนาจำนวนมาก นั่นหมายถึงการที่ชาวนาจะได้ข้าวที่มีทั้งคุณภาพของเมล็ดและปริมาณที่ลดลงเป็นจำนวนมาก
ปัญหาที่แก้ไม่ตกของชาวนา
ด้วยมีสายพันธุ์มาจากข้าวป่าเข้มข้น และเป็นนักสู้ชั้นสูง ทำให้ข้าววัชพืชมีการเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีจนไปแย่งธาตุอาหารจากข้าวปลูกเดิมจนหมดทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตที่ลดลง
แถมข้าววัชพืชบางชนิดนั้น จะมีช่วงระยะเวลาการออกดอก เร็วกว่าข้าวปลูก มีการผสมพันธุ์เร็วกว่าทำให้ได้เมล็ดข้าวไวกว่าข้าวปลูก ก่อนเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวข้าวปลูกตามปกติ ข้าววัชพืชก็ได้เมล็ดพร้อมที่จะงอกเป็นต้นใหม่ และร่วงลงก่อนการเกี่ยวข้าว และมักจะหลุดรอดการเก็บเกี่ยวข้าวทุกครั้ง
ทำให้มีเมล็ดที่พร้อมจะงอก สะสมอยู่ในแปลงนามากมาย ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นในฤดูต่อไป ๆ และทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ลดลงไปเรื่อย ๆ หากมีการระบาดหนัก
แม้ว่าจะมีการเก็บเกี่ยวข้าววัชพืชไปเพิ่มรายได้และได้น้ำหนักดีจริง แต่เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงที่ปะปนอยู่กับ ข้าวปลูก หรือเปอร์เซ็นเนื้อแป้งเต็มเมล็ดที่ได้น้อย ทำให้ถูกตัดราคารับซื้อจากโรงสีอยู่บ่อย ๆ เรียกได้ว่า ต้นทุนเท่าเดิมแต่ผลผลิตลดลง แบบนี้ก็อยู่ไม่ได้
อ้างอิง นิตยสารข้าวไทย หน้า 64 ปีที่ 6 ฉบับที่ 37
เรียบเรียงใหม่โดย www.kasetorganics.org
How to
การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
มีแปลงเกษตรบน พื้นที่ 1 ไร่ จะออกแบบอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด มาดูบทความนี้ มีคำแนะนำที่ดี ในการสร้างพื้นที่เพียงไร่เดียวให้คุ้ม แถมยังทำรายได้สูงกว่าการเพาะปลูก
อ่านบทความนี้ต่อHerbs information
ผักปลัง มีทั้งก้านแดงและเขียว
ผักปลัง ปลูกง่าย เด็ดกิ่งปักชำในดินชื้นแฉะ ไม่กี่วันก็งอก อาทิตย์เดียวแตกยอดเต็มสวน
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ใบกะเพรา Sweet – Holy
ถ้าหากว่ามีอะไรที่รสชาดหวาน กินได้ กินแล้วทั้งอร่อย ทั้งศักดิ์สิทธิ์ ใครจะไม่กิน ขนาดที่ว่าคนทั้งโลกก็ยังรู้สึกหลงไหลไปกับมัน ใช่แล้วล่ะ มันคือใบโหระพาและใบกะเพรา ที่ได้รับความนิยทแพร่หลายทั่วโลก ใช้กินได้ทั้งในอาหารทุกชาติทั้งตะวันตกและตะวันออก จะกินสดๆ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก็ได้ทั้งนั้น ยิ่งมีกลิ่น รสที่แสนอร่อย แถมมีสรรพคุณสมุนไพรอีกด้วย
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การปลูกผักอินทรีย์
ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย
อ่านบทความนี้ต่อHow to
เพาะเห็ดลมอย่างไรให้ได้ผล
วันนี้ตรุษจีน แต่ว่ากันด้วยเรื่องเห็ดๆ และวันนี้ลูกทีม เกษตรปลอดสารพิษ จะมาว่ากันด้วยเรื่องการเพาะเห็ดลม
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เกษตรพอเพียง ที่แท้ทรู
คำว่า เกษตรพอเพียง หลายคนคิดว่าทำแล้วจะดี แต่เชื่อหรือไม่ว่า มันไม่ได้เหมาะกับทุกคน
อ่านบทความนี้ต่อ