ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย ต้องใช้ในปริมาณที่มาก ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน เกษตรกรขาดความรู้เรื่องปุ๋ยอินทรีย์อย่างแท้จริง ทำให้ในระบบการผลิตพืชผักจะโตช้าและได้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยเคมี
เทคโนโลยีทางชีวภาพการใช้จุลินทรีย์สามารถแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้จุลินทรีย์SMในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 7-10 วัน คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานที่สำคัญก็คือการย่อยสลายที่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารพืชอยู่ในรูปที่พร้อมใช้ พืชสามารถดูดกินได้ทันที จึงจะทำให้พืชผักโตเร็วและมีคุณภาพดีได้ เพราะได้ธาตุอาหารพืชครบ รวมทั้งฮอร์โมนพืชอีกด้วย และเมื่อเกษตรกรสามารถทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้ได้เองทั้งปุ๋ยหมักผง และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแล้ว ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีต้นทุนที่ต่ำ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้เป็นอย่างมาก
คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน ที่เหมาะกับการปลูกผักอินทรีย์คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยจะต้องผ่านการย่อยสลายอย่างสมบูรณ์โดยจุลินทรีย์เท่านั้น ซึ่งคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ตามมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2551 คือ
- ปริมาณอินทรียวัตถุ ไม่น้อยกว่า 20 % โดยน้ำหนัก ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic Matter) ค่า OM ทดสอบว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผลิตมาจากวัสดุอินทรีย์ล้วนๆ หรือมีดินผสมมา
- ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) 5.5 – 8.5 ค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH) อยู่ระหว่าง 5.5 – 8.5 ซึ่งเป็นระดับที่เป็นประโยชน์กับพืชมากที่สุด ซึ่งเมื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในดินจะไม่เพิ่มความเป็นกรดให้กับดิน ซึ่งถ้าดินมีความเป็นกรดสูงธาตุ P และ K จะถูกตรึงไว้ พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้จึงขาดธาตุอาหารดังกล่าว
- อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20 / 1 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) ไม่เกิน 20 / 1 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่บอกคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์นั้นว่ามีการย่อยสลายที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อใส่ลงไปในดินแล้วจะไม่เป็นอันตรายต่อพืชปุ๋ยนั้นจะไม่ถูกย่อยสลายต่อด้วยจุลินทรีย์ดินอีก เพราะการที่ปุ๋ยย่อยสลายต่อจะทำให้สูญเสียธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในดินออกไป ทำให้ดินขาดธาตุในโตรเจน
- ค่าการนำไฟฟ้า (EC : Electrical Conductivity) ไม่เกิน 10 เดซิซีเมน/เมตร ค่าการนำไฟฟ้าแสดงถึงความเข้มข้นของปุ๋ยหรือความเค็มของปุ๋ย (ภาษาปุ๋ย) ซึ่งถ้าความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้ปุ๋ยเป็นอันตรายต่อพืช เพราะพืชจะไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้
- ปริมาณธาตุอาหารหลัก โดยที่ N ไม่น้อยกว่า 1.0 % โดย น.น., P ไม่น้อยกว่า 0.5 % โดย น.น., K ไม่น้อยกว่า 0.5 % โดย น.น.
- การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์ มากกว่า 80 % การย่อยสลายสลายที่สมบูรณ์มากกว่า 80 % ซึ่งเป็นการทดสอบคุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ โดยการวัดจากค่า GI – ค่าเปอร์เซ็นต์การงอกของการเพาะเมล็ด ซึ่งถ้าค่า GI สูง มีเปอร์เซนต์การงอกของการเพาะเมล็ดสูงก็แสดงว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้นผ่านการย่อยสลายที่สมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แล้ว เมื่อนำปุ๋ยไปใช้จะทำให้พืชกินปุ๋ยได้เร็ว พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว
- ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ ไม่เกิน 30 % โดยน.น.
- ปริมาณเกลือ ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ความเค็มจากเกลือจะทำให้เกิดความเข้มข้นในสารละลายภายนอกรากพืชสูงกว่าภายในรากพืช พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำและธาตุอาหารเข้าไปทางรากได้ (ระบบ Osmosis) พืชจะเฉาตาย
เมื่อเกษตรกรสามารถเรียนรู้และจัดการเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดีแล้ว การปลูกผักอินทรีย์ และ การทำเกษตรอินทรีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อ้างอิงจาก cw-sm.com
How to
เพาะเห็ดทานเอง คู่มือพอเพียง
จากบทความเกษตรปลอดสารพิษ ดีๆ อีกบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการเพาะเห็ดไว้ทานเองที่บ้าน เพราะยุคนี้ต้องพึ่งพาตนเองเป็นดีที่สุด และเห็ด ก็เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีไม่แพ้ผักและอาหารชนิดอื่น แถมอาจจะได้ประโยชน์อย่างมากมายอีกด้วย
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
คนไทยกินผักน้อยกว่ามาตรฐาน
สถานการณ์นี้ ทั่วโลกก็แทบไม่ต่างจากคนไทยซักเท่าไหร่ ที่ในปัจจุบัน วิถีชีวิตของการกินเพื่อสุขภาพ ได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง
อ่านบทความนี้ต่อHerbs information
มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน
มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
การเกษตรอินทรีย์เบื้องต้น
เกษตรอินทรีย์ ส่วนใหญ่เราเข้าใจกันง่ายๆ ว่าเป็นการทำเกษตรแบบไม่ใช้สารเคมี และสารเคมีที่ว่า คือสารที่ถูกสกัดมาจากห้องทดลอง
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
Organic Farming – A recent technology in cultivation
There are various forms of cultivation but the recent technique used is Organic farming
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ต้องใช้เวลา
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการปลูกพืชไร่และพืชสวน รวมทั้งพืชผักสวนครัวต่าง ๆ ภาวะการเจริญพันธุ์ จะได้รับผลกระทบจากธาตุของดิน และปริมาณของสารอาหารที่มีในดิน
อ่านบทความนี้ต่อ