พืชผักจากการทำเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่

หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

สามารถที่จะช่วยให้มนุษย์และสัตว์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ แต่การเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ อันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการบริโภคก็มิได้น้อยลงไปเลยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผู้คนทั่วโลกรวมทั้งบ้านเราเล็งเห็นถึงประโยชน์และมุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นกับการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารการกิน

กระแสของอาหารปลอดภัย อาหารปลอดสารพิษ อาหารปลอดสารเคมี อาหารจากวิถีธรรมชาติ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นและได้รับความนิยมสนับสนุนจากหลายๆ ส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้รักสุขภาพ ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยและผู้สูงวัยที่หันมาเน้นในเรื่องสุขภาพ ทำให้ตลาดของอาหารปลอดสารพิษทุกวันนี้เริ่มคึกคักกันมากขึ้น และมีแข่งขันกันรุนแรง ในซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสุขภาพบางแห่ง หรือตลาดสดทั่วไป

เรามักจะพบผักที่ติดป้ายหรือในบรรจุภัณฑ์ที่บอกว่า ผักปลอดสารพิษ ผักอนามัย หรือผักออร์แกนิก ความหลากหลายเหล่านี้ก่อให้เกิดความสับสนในผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าผลผลิตเหล่านี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และด้วยปริมาณของผักปลอดสารที่มีอยู่มากมายขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภควางใจในคำว่า ปลอดสาร ว่านั่นคงจะปลอดภัย แต่หารู้ไม่???

ผักปลอดสารพิษ ด้วยการเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัยจริงหรือ

ลองดูการเปรียบเทียบการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตผักสดในระบบต่างๆ อาจช่วยให้เข้าใจคำต่างๆ ที่พบบนผลิตภัณฑ์ผักได้ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลตารางด้านล่าง เราจะเห็นว่าในระบบการผลิตของผักปลอดสารพิษ ผักไฮโดรโพนิก และผักอนามัย ยังอนุญาติให้ใช้สารเคมีบางชนิดได้ แล้วแบบนี้ทำไมจึงได้ชื่อว่า เกษตรปลอดสารพิษ

ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ให้ความหมายไว้ว่า ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกําจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนดไว้

ตารางการใช้สารเคมี ในระบบการเกษตรประเภทต่างๆ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างในผักสดตามท้องตลาดและซุปเปอร์มาเก็ต รวมถึงผักที่ได้รับการรับรองว่าเป็นผักปลอดภัยจากหลายแห่ง พบว่าจากการสุ่มตรวจเมื่อตอนกลางปี 2553 ในผัก 50 ชนิด (อ้างอิงจากบทความผักปลอดสาร..อันตรายกว่า คม ชัด ลึก 17 สิงหาคม 2554)

เกษตรปลอดสารพิษ ผักปลอดสารพิษ ไม่ปลอดภัยอย่างที่คิด

ในพืชผัก 50 ชนิดที่สุ่มตรวจ พบพืชผักถึง 8 ชนิด มีสารเคมีตกค้างอยู่ และพบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ พริกขี้หนู คะน้า กวางตุ้ง ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ผักชี กะหล่ำปลี และแตงกวา

จากการตรวจผัก 39 ตัวอย่าง พบสารพิษอันตรายตกค้างได้แก่

  • สารไดโคโตฟอส 7 ตัวอย่าง
  • สารอีพีเอ็น(EPN) 4 ตัวอย่าง
  • สารเมโทมิล 1 ตัวอย่าง
  • สารคาร์โบฟูราน 1 ตัวอย่าง

สารทั้ง 4 ชนิด เป็นสารเคมีพิษอันตรายที่ต่างประเทศยกเลิกและห้ามใช้กับการเกษตรไปแล้ว แต่ประเทศไทย ยังมีการพบและนำมาใช้ในระบบการเกษตรกันอยู่ในปัจจุบัน หากคำว่า ปลอดสาร หรือปลอดภัยจากสารพิษ ที่ปรากฏบนบรรจุภัณฑ์ผัก เกิดขึ้นบนฐานการปฏิบัติตามหลักการโดยความหมาย หรือผ่านระบบการตรวจสอบน่าเชื่อถือ คงไม่น่าหนักใจนัก

แต่จากข้อมูลข้างต้น พบว่าเรายังมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารพิษตกค้างในผักที่ซื้อในตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งแม้แต่ในบรรจุภัณฑ์ที่มีถ้อยคำรับรองความปลอดภัยก็ตาม อาจเป็นไปได้ว่ารูปแบบการปลูกเพื่อการค้า ต้องมีผลผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาด และสารเคมีพิษตกค้างเหล่านี้เกิดจาก

  • การเก็บเกี่ยวผลผลิต ก่อนระยะเก็บเกี่ยว หลังจากการใช้สารพิษกำจัดแมลงทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด
  • การใช้สารพิษกำจัดแมลงในปริมาณมากเกินความจำเป็นหรือใช้ร่วมกันหลายชนิด
  • พื้นที่เพาะปลูกที่ใช้สารเคมี มีสารพิษตกค้างอยู่ในดินและน้ำ ซึ่งจะสะสมอยู่ในผักผลไม้ที่ปลูก

อย่างไรก็ดี ในเรื่องเกษตรปลอดสาร หากเรายังพอใจและหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการบริโภคผักที่ปลูกในระบบเพื่อการค้า และเราเองไม่สามารถมองเห็นสารพิษเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่าขณะที่เลือกซื้อ เราจึงไม่ควรประมาทในความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีพิษตกค้าง

ก่อนการบริโภคควรล้างผักเหล่านั้นในสะอาด หรือแช่ในน้ำไว้สัก 10 นาที จะเติมเกลือ ด่างทับทิม โซเดียมไบคาร์บอเนต น้ำปูนใส น้ำส้มสายชู แล้วล้างออกอีกครั้ง อาจช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างในผักได้บ้าง หรือเลือกรับประทานผักตามฤดูกาล ก็นับเป็นอีกหนทางหนึ่ง

ที่มา greennet.or.th

Herbs information

แก่นตะวัน สุดยอดว่านสมุนไพร

แก่นตะวัน หรือ Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus) เป็นว่าน หรือพืชดอกในตระกูลทานตะวัน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ไผ่ตงลืมแล้ง แนะนำการปลูกเพื่อสร้างรายได้

ใครไม่รู้จัก ไผ่ตงลืมแล้ง ยกมือขึ้น ไผ่ชนิดนี้มีหลายชื่อเรียกด้วยกัน เช่น ไผ่กิมซุง ไผ่ลืมแล้ง ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ปลูกอะไรดีในพื้นที่ดินปนทราย

คราวก่อนได้กล่าวถึงสภาพการเพาะปลูกพืชในพื้นที่ดินปนทราย หรือสภาพดินทรายกันไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่ายังไม่ละเอียดนัก อีกทั้งไม่มีพื้นที่ทดลองจริงลงให้เห็นกันชัดๆ

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

ORGANIC FARMING – The Best way to Grow Crops

The word Organic Farming means making use of alternative methods to raise food crops.

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ ดีอย่างไร

ได้ยินชื่อว่า น้ำมันมะพร้าวอินทรีย์ หลายคนอาจสงสัยว่า คืออะไร เพราะน้ำมันมะพร้าวปกติแล้วมีประโยชน์มากมาย ผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ จากตัวอย่างเช่นชาวเกาะทะเลใต้ ที่อยู่ในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก มีรูปร่างที่สมส่วน ไม่อ้วน แต่ก็ไม่ผอม

อ่านบทความนี้ต่อ