การผลิตผักสลัดไร้ดิน hydroponics

การผลิตผักสลัดแบบ Hydroponics ซึ่งมีคุณค่าและโภชนาการสูง ด้วยระบบพืชไร้ดิน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบบผักไร้ดิน

หรือ การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืชนี้ โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้านมาตรฐาน, ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูกได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน

ซึ่งหลายคนคงจะคิดว่า การปลูกพืชแบบนี้ เป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ตอนนี้คงต้องลบความคิดเก่า ๆ เหล่านี้ออกไปก่อน เพราะด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้สะดวกสบายมากขึ้น ในการที่จะปลูกผักไว้รับประทานเอง เพื่อสุขภาพที่ดีทุกวัน ที่สำคัญวิธีการปลูกก็ง่ายแสนง่ายด้วยชุดปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ และความต้องการของเราเอง

การเพาะเมล็ด เพาะเมล็ดผักลงในถ้วยเพาะที่มีวัสดุปลูก คือ เพอร์ไลท์ และเวอมิคูไลทผสมกัน 3/1 วางบนถาดซึ่งอยู่บนโต๊ะเพาะเมล็ดโดยให้สารละลายอาหารพืชมีความชุ่มชื้นอยู่ เสมอประมาณ 3 วันเมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆ และดูแลต่อไปจนถึงอายุ 10 วัน จึงย้ายปลูก

การอนุบาลกล้าผัก กล้าอายุ 10 วันจะถูกย้ายมาปลูกบนโต๊ะอนุบาลกล้าผักประมาณ 14 วันจึงย้ายไปปลูกบนโต๊ะปลูกเมื่ออายุได้ 24 วัน

การปลูก ต้นกล้าอายุ 24 วัน จะถูกนำมาปลูกบนโต๊ะปลูกและดูแลอย่างสม่ำเสมออีกประมาณ 16 วัน รวมอายุผักได้ 40 วัน จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้

การเก็บเกี่ยว เมื่อผักอายุได้ 40 วัน จะโตเต็มที่และมีน้ำหนัก 120-200 กรัม/ต้น จึงเก็บเกี่ยว โดยยกขึ้นมาจากรางปลูกทั้งถ้วยปลูกซึ่งมีรากอยู่ด้วย นำผักที่เก็บเกี่ยวแล้วมาบรรจุถุงที่ระบายความชื้นได้ และทำการช๊อคด้วยความเย็นที่ 10 ํC นาน 12 ชั่วโมงในตู้แช่ก่อนนำไป วางตลาด

hydroponics ผัก hydroponic การปลูกผักไร้ดินอนึ่งการดูแลที่ต้องทำสม่ำเสมอ คือ ปรับความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนำไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อปรับความสมดุลของสารละลายธาตุอาหารพืช ควรเปลี่ยนสารละลายธาตุอาหารพืชทุก 10 วัน การป้องกันศัตรูพืชและโรคพืชในระบบปิดเช่นนี้ไม่มีปัญหามากนัก

ข้อมูลเฉพาะด้านการลงทุนและรายได้ ใช้เนื้อที่ 800 ตารางเมตร

  • ต้นทุนอุปกรณ์ 1,000,000 บาท
  • ผลผลิตต่อปี 74,520 ต้น
  • รายได้ต่อปี 900,000 บาท
  • รายจ่ายต่อปี 600,000 บาท (ค่าแรง (2-3 คน), ค่าวัตถุดิบและสารอาหารพืช, ค่าบรรจุภัณฑ์, ค่าเสื่อมราคา)
  • รายได้ก่อนหักภาษี (ต่อปี) 300,000 บาท
  • จุดคุ้มทุน (Payback Period) 3.5 ปี
  • ตลาด ห้างสรรพสินค้า/มินิมาร์ท/โรงแรม/ร้านอาหาร/ส่งออก
  • สิ่งที่ต้องมี เงินทุน/เทคโนโลยี/ความรู้ด้านการบริหารจัดการ
  • จุดที่น่าสนใจ เป็นผักปลอดสารพิษ ปลอดศัตรูพืช มีความสวยงาม น่ารับประทาน และมีโภชนาการสูง
  • ข้อจำกัดการลงทุนสูงต้องมีการบริหารจัดการและการตลาดที่ดี

ที่มา : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Best Infomal

น้ำส้มควันไม้ การผลิตใช้ในครัวเรือน

น้ำส้มควันไม้ การผลิตได้เอง ถือเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร อีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจาก การลดต้นทุนสารเคมีที่จะใช้ในการทำเกษตร

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อทำการเกษตร

การเพาะปลูกในยุคปัจจุบัน แม้จะมีการหลีกเลี่ยงปุ๋ยเคมี แต่ก็ต้องยอมรับความจริงที่ว่า เลี่ยงได้ยาก ด้วยภาวะเศรษฐกิจ และปริมาณความต้องการของผลผลิต

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

มหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี และ พาณิชย์จังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน มหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์ พบกับมหกรรมสินค้าเกษตรอินทรีย์

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

เตรียมพร้อมกับ เกษตรพอเพียง

พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

การปลูกข่าแบบพอเพียง สร้างรายได้ต่อเนื่อง

ข่ามีมูลค่าในเชิงการค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงแถมสามารถขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ มีตลาดข่ารองรับมากมาย การเตรียมการปลูกเพื่อผลิตก็ไม่ยาก

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ผักสด คู่เมนูสลัด

สลัดผักสด เป็นเมนูลดความอ้วนได้ผลดี และอิ่มท้องแถมได้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย

อ่านบทความนี้ต่อ