หากที่ไหนมีดินอุดมสมบูรณ์ ก็ปลูกพืชได้ แต่หากพื้นที่ไหนมีปัญหา จำเป็นต้องจัดการเรื่องดินก่อน เพราะการทำเกษตร ไม่ใช่แค่การปลูกผัก
เมืองไทย ขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ติดอันดับโลก โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากรทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ รวมถึงระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ชีววิทยา ฯลฯ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะดีไปทุกแห่งหน เพราะในเมืองไทยเอง บางพื้นที่ ก็ไม่ได้มีความสมบูรณ์อย่างคำขวัญบางประโยชน์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องความแห้งแล้ง
แม้อาชีพส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะเป็นเกษตรกร แต่ปัญหาหลักที่มักพบเจอก็คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ที่ไม่เหมาะกับการปลูกพืช ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ที่มักเจอกันได้แก่
- ดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรดกำมะถัน คือ ดินที่มีสารประกอบไพไรต์ (FeS2) ปนอยู่มาก เมื่อผ่านการออกซิเดชั่น หรือสัมผัสกับอากาศ จะทำให้เกิดกรดกำมะถันขึ้นในชั้นดิน มีลักษณะเป็น สีเหลืองฟางข้าว ที่ชั้นใดชั้นหนึ่งในหน้าดิน ทำให้ปลูกพืชไม่ได้ เพราะเป็นอันตรายกับรากพืช
- ดินเค็ม คือ ดินที่มีเกลืออยู่มาก จนกระทบต่อการเติบโตของพืช ดินลักษณะนี้ จะมีคราบเกลือบนผิวดินแบบเห็นได้ชัดเจนเป็นหย่อม ๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง หากปลูกพืช จะทำให้พืชแคระแกร็น เนื่องจากขาดน้ำ และความเป็นพิษจากโซเดียมและคลอไรด์ ทำให้พืชไม่โต
- ดินทราย คือ ดินที่มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี แต่ก็ไม่สามารถเก็บธาตุอาหารไว้ได้ด้วย ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินทรายปลูกพืชได้ หากมีเทคนิคที่จะทำให้ธาตุอาหาร รวมไปถึงน้ำ ถูกกักเก็บอย่างเพียงพอ ไม่ถูกระบายออกไปหมดเสียก่อน
- ดินเหนียว คือ ดินที่มีเนื้อละเอียด หากแห้งจะแตกเป็นก้อนแข็ง ๆ เมื่อเปียกน้ำจะมีความยืดหยุ่น คุณสมบัติของดินเหนียวคือ ระบายน้ำและอากาศได้ไม่ดี ทำให้รากพืชชอนไชได้ไม่สะดวก จึงมีปัญหาทำให้พืชขาดธาตุอาหารและอากาศ แต่ก็มีทางแก้ไขได้แบบง่าย ๆ
- พื้นที่เป็นโขดหิน กรวด ทราย ใช่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชผักไม่ได้ แต่สภาพดินและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เหล่านี้ เป็นอุปสรรคกับรากของพืช แต่ในบางครั้ง ก็มีข้อดีอยู่ในข้อเสียหลายอย่าง เช่น สามารถกักเก็บความชื้นได้ดีกว่าดินประเภทอื่น ๆ และอาจเหมาะกับพืชที่มีระบบรากยาวและลึก
การทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ให้เหมาะทำการเกษตร
- การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยทั่วไปมักจะใช้วิธีการ ราดปูนทางการเกษตร เพื่อช่วยลดความรุนแรงของกรดในดิน ซึ่งปูนที่นิยมใช้กันคือ ปูนโดโลไมท์ เพราะมีทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบ อัตราปูนที่ใช้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของกรดในดิน มักใช้ปูนโดโลไมท์ ในอัตรา 300-500 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมลงในเนื้อดิน อาจใช้เวลานาน
- การแก้ปัญหาดินเค็ม ดินเค็ม เป็นดินที่แก้ปัญหาได้ยาก และไม่คุ้มทุน เพราะต้องใช้เวลานานหลายสิบปี กว่าจะฟื้นฟูสภาพดินให้เกลือมีความเจือจางจนสามารถปลูกพืชได้ ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ ขุดบ่อทุก ๆ จุดของดิน และทำบ่อรวมไว้อีกแห่ง เพื่อให้น้ำได้ชะล้างเอาเกลือ ออกจากดิน ไปเก็บไว้ในพื้นที่อื่นตามที่กำหนด อาจใช้เวลาค่อนชีวิต ส่วนทางแก้อีกวิธีหนึ่งคือ ปลูกพืชทนดินเค็ม เช่น มะพร้าว ปาล์ม จาก
- การแก้ปัญหาดินทราย ใช้ดินเหนียวผสมในอัตราส่วน 1:1 หรือใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมกับดินเหนียวในอัตราส่วนเท่ากัน เพียงเท่านี้ก็เพียงพอที่จะรักษาน้ำ ธาตุอาหาร ให้มีอยู่ในดินเพียงพอที่จะให้พืชนำไปใช้ในการเติบโตได้ แต่อาจต้องลงทุนสูง ดูเพิ่มเติมเรื่อง : ปลูกอะไรดีในพื้นที่ดินปนทราย
- ปัญหาดินเหนียว แก้ไขได้ไม่ยาก หากต้องการให้สภาพดินเหนียว เป็นดินอุดมสมบูรณ์ มีความเหมาะสมในการทำเกษตร ปลูกพืชผัก เพียงนำดินทรายเข้าไปผสมในอัตรส่วน 1:1 จะช่วยให้สภาพดินเหนียวเหมาะกับการปลูกพืชได้ดีขึ้น บางคนเข้าใจว่า ให้ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเพิ่มเข้าไป แต่การกระทำแบบนั้น เมื่อนานวันเข้า จะยิ่งทำให้ดินมีความเหนียวยิ่งขึ้น เพราะปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เมื่อสลายตัวก็จะกลายเป็นดิน ไม่ได้ช่วยให้เนื้อดินเกิดสภาพรูพรุน และให้อากาศเข้าได้ดีกว่าการผสมทราย
- การแก้ปัญหาพื้นที่เป็นโขดหิน สภาพดินแบบนี้หากไม่ทีทุน ก็สามารถปลูกพืชผักได้โดยการขุดล้อมเป็นหลุม ๆ ขนาดพอดีกับต้นพืชที่ต้องการปลูก แล้วใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ลงไปในหลุม ทั้งนี้ เศษหิน กรวด หรือโขดหิน จะช่วยรักษาความชื้นในดิน และทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น รวมไปถึงมีข้อดีที่จะทำให้รากพืช ได้จับยึด และชอนไชลงในเนื้อดินได้ง่ายขึ้นด้วย พืชที่เหมาะสมกับสภาพโขดหินคือ ไผ่ตงลืมแล้ง และผักอายุสั้นทั้งหลาย
ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่เท่ากัน และไม่เหมาะทำเกษตร ใช่ว่าจะไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหา หากไม่เจอพื้นที่ ดินเค็มจัด จริง ๆ ก็สามารถแก้ปัญหาได้ ก่อนอื่นต้องนำดินในบริเวณที่จะเพาะปลูก โดยการนำดินในระดับความลึก ประมาณครึ่งเมตร หรือ 1 เมตร ไปให้ หมอดิน ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ตั้งแต่ ค่า pH รวมไปถึงธาตุอาหารในดินที่มีการสะสมอยู่
เขาจะบอกได้ว่า ดินของเรา มีความอุดมสมบูรณ์ เพียงพอจะทำการเพาะปลูกหรือไม่ หากไม่แล้ว ก็จะมีแนวทางแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมต่อไป
ข้อมูลติดต่อ กรมพัฒนาที่ดิน https://www.ldd.go.th/Location/index.html
Best Infomal
ทำเกษตรแนวใหม่แบบยั่งยืน
เกษตรแนวใหม่ ทำได้แบบยั่งยืน จากการคาดคะเนจากหลายๆ ฝ่าย ต่างมองไปในทางเดียวกันว่าพิษเศรษฐกิจโลกที่กำลังตกต่ำนั้น ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
อาหารออแกนิค ปลอดสารพิษ
อาหารออแกนิค นั้นจัดเป็นมาตรฐานอย่างหนึ่งของการผลิตอาหาร โดยทุกขั้นตอนของการผลิตจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ไร้สารปนเปื้นที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือมนุษย์ไม่ผ่านการฉายรังสี
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ผักไร้ดิน ไร้ปัญหาน้ำท่วม ลดการนำเข้า
ข้อมูลจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุว่าปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตผักและผลไม้ของไทยเป็นวงกว้างทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและสินค้ามีราคาแพงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันผักสดหลายชนิดเริ่มขาดแคลน และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่มาจากจีน
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
โครงการปลูกพืชผักสวนคนเมือง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันอาทิตย์ ที่ 25 พ.ย.55 นี้ จัดงานเกษตร พบกับโครงการรู้แจ้งวิกฤตปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร วิถีการต้านวิกฤต สร้างสุขภาวะ โดยการพึ่งพิงตนเองด้วยสวนผักคนเมือง พบผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักสวนครัว และนิทรรศการ
อ่านบทความนี้ต่อHow to
มะเขือยาว The Apple of Madness
ตำนานมะเขือยาวที่เจอในบทความของหนังสือ Gourmet & Cuisine เลยนำมาเล่าสู่กันฟังซักเล็กน้อย โดยใครจะเชื่อว่า ผักพื้นบ้านที่อยู่ริมรั้วบ้าน
อ่านบทความนี้ต่อHow to
แนะการขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่จำกัด อย่างไรถึงคุ้มสุด
สำหรับวันนี้เราทีมเกษตรปลอดสารพิษก็ได้มีโอกาสเขียนเกี่ยวกับการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด
อ่านบทความนี้ต่อ