น้ำส้มควันไม้ การผลิตใช้ในครัวเรือน

น้ำส้มควันไม้ การผลิตได้เอง ถือเป็นสิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร อีกทางหนึ่ง นอกเหนือไปจาก การลดต้นทุนสารเคมีที่จะใช้ในการทำเกษตร

เพราะหนึ่งในตัวเลือกแรก ๆ หากคิดอยากจะลดต้นทุนการทำเกษตร และงดเว้นการใช้สารเคมี หรือ ใช้ แต่ในปริมาณน้อย การผลิตน้ำส้มควันไม้ใช้เอง จึงเป็นสิ่งที่ควรทำ

กรดน้ำส้มอ่อน ๆ ชนิดนี้ ที่ได้จากการกลั่นควันไฟที่เกิดจากการเผาถ่าน เพื่อเอาถ่านมาใช้ประโยชน์ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ ทำเองได้ นิยมทำกันในหมู่เกษตรกร และทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่การจะได้มาซึ่งสิ่งนี้ จำเป็นต้องมีการเตรียมการเสียก่อน

คำแนะนำในการเผาถ่าน และนำถ่านไม้มาใช้นั้น สำหรับถ่านไม้ ที่เกิดจากการเผาไม่หมด จะมีน้ำมันดินเป็นส่วนผสม น้ำมันดินนี้ เป็นสารก่อมะเร็งชั้นเลิศ หากนำถ่านที่มีน้ำมันดินนี้ ไปใช้ จะเกิดควัน และมีการเจือปนในอาหาร ในกรณี ปิ้งย่าง

แต่วิธีป้องกันง่าย ๆ ก็คือ เผาก้อนถ่านให้เกิดความร้อนไปทั้วทั้งก้อน ก่อนสักพักหนึ่ง แล้วค่อยนำอาหารมาปิ้งย่าง ก็สามารถกำจัดน้ำมันดินนี้ให้หมดไปได้ ไม่ทำให้เกิดพิษตกค้าง

น้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ ใช้ประโยชน์จากควันเผาถ่าน

กรรมวิธีการเผาถ่าน โดยปกติ จะมีควันที่เกิดขึ้น และถูกทิ้งไปโดยเสียเปล่า ปราชณ์ชาวบ้านหลายท่าน จึงได้เล็งเห็นว่า หากมีการนำควันเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ไล่แมลง คงจะดีไม่น้อย จึงได้คิดที่จะนำ ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน ดังกล่าว มาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง

ในช่วงแรก ๆ ก็ดักควันนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง เมื่อนานวันเข้า ควันที่เก็บไว้ เกิดโดนความเย็น ทำให้กลายเป็นของเหลวติดอยู่ตามภาชนะบรรจุ และเมื่อล้างออกไม่หมด การผสมน้ำเข้าไป จึงเป็นเรื่องปกติ และเมื่อนำน้ำดังกล่าวไปราด รดทิ้งใต้โคนผลไม้ เกิดทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

จากการสังเกตุ ในตอนนั้นหลายคนคิดว่า น้ำส้มควันไม้ คือปุ๋ยชั้นดี แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่ เพราะมีสรรพคุณยิ่งกว่านั้น คือเป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ให้สารเคมีที่ถูกผสมเข้าด้วยกัน มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะเห็นผลในการ นำไปใช้ทางการเกษตร อีกทั้งยังช่วยไล่แมลงศัตรูพืชได้ดีอีกด้วย

หลังจากนั้นจึงมีการทดลองและหาข้อสรุป จนกระทั่งได้สิ่งสำคัญยิ่ง นั่นคือ สิ่งที่เก็บควัน ต้องมีการกลั่น ซึ่งควันในช่วงที่ไม้ กำลังเปลี่ยนเป็นถ่าน เมื่อทำให้เย็นลง จนควบแน่นแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จะได้สิ่งที่เรียกว่า ของเหลวสีคล้ำเหนียว ๆ ที่รู้จักกันในภาษาชาวบ้านว่า “น้ำส้มควันไม้” นี่เอง จะมีกลิ่นไหม้ของกำมะถันอยู่มาก ส่วนประกอบที่มีเป็นส่วนใหญ่ คือกรดอะซิติก มีความเป็นกรดต่ำ มีสีน้ำตาลแกมแดง และยังมีสารประกอบอีกหลายชนิดที่รวมกันอยู่ในนั้น

อุปกรณ์สำหรับทำเตาเผาถ่านเพื่อทำน้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้นั้น ผลิตง่ายไม่เสียงบประมาณมาก เกษตรกร หรือผู้สนใจ สามารถผลิตใช้เองได้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องลงทุนไปซื้อ อุปกรณ์การผลิตน้ำส้มควันไม้ ราคาแพง ๆ เพราะสามารถหาได้เอง ก่อนอื่นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ดังนี้

  • ถังบรรจุประมาณ 200 ลิตร หรือถังแกลลอนน้ำมัน เพื่อใช้ทำเป็นเตาเผา
  • ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร (ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลาง อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) ทนความร้อนได้ ใช้สำหรับทำปล่องควัน
  • แกลบดิบประมาณ 2-3 กระสอบปุ๋ย
  • ไม้แห้งหรือเชื้อเพลิงอื่น ที่จะเผาทำเป็นถ่าน ควรเป็นไม้ที่ไม่ใหญ่มาก และเป็นไม้ที่มีน้ำในเนื้อไม้ไม่มากเกินไป เป็นไม้ที่ตัดทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือมากกว่า เนื่องจากไม้ที่ตัดสดใหม่จะใช้เวลานานในการเผาและมีน้ำมาก เลื่อยเป็นท่อนเพื่อสะดวกในการนำใส่ภาชนะเผา
  • ตะไคร้หอม 5-10 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มความหอม
  • ขวดน้ำพลาสติก 2 ขวด
  • ถังพลาสติก สำหรับเก็บเอาน้ำส้มควันไม้
การผลิตน้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ ขั้นตอนและวิธีการทำ

  • ดัดแปลงถังน้ำมันเก่า 200 ลิตร โดยต่อท่อออกมาด้านนอกความสูงระดับ 90% ของตัวถังเป็นรูปตัว T ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว โดยด้านบนจะเป็นปล่องควัน และด้านล่างเป็นบริเวณที่ให้น้ำส้มควันไม้ หยดออกมา ส่วนฝาปิดถังก็ต่อท่อออกมาเช่นกัน ความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นเจาะรูด้วยสว่านข้างถังทั้ง 3 ด้าน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3/4 นิ้ว หรือ 3 หุน สูงจากพื้นด้านล่างประมาณ 20 เซนติเมตร รู้นี้ไว้เพื่อระบายอากาศ
  • ถังขนาด 200 ลิตร จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56 ซม. สูง 89 ซม. จะแบ่งใส่วัตถุดิบออกเป็นชั้น ๆ คือ
    – ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ใส่แกลบดิบความสูงประมาณ 25 เซนติเมตร หรือไม้ที่เป็นเชื่อเพลิงอื่น
    – ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 4 ใส่ตะไคร้หอมความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร
    – ชั้นที่ 5 เป็นชั้นสุดท้าย ให้เทแกลบดิบใส่ลงไปในถังให้เต็ม
  • จุดไฟเผาวัสดุที่เป็นส่วนผสมทั้งหมด และปิดฝาถัง โดยปล่อยให้ควันลอยออกมา ทางปล่องควันที่ต่อออกมา ประมาณ 1 ชั่วโมง สังเกตลักษณะของควันที่เผาไหม้ ว่าอยู่ในระดับที่จะสามารถ กลั่น ออกมาเป็น น้ำส้มควันไม้ ได้หรือไม่ โดยสังเกตจากช่วงที่ควันมีสีขาวขุ่น ออกเหลือง อุณหภูมิปากปล่องระหว่าง 80-150 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ผลผลิต จะมีคุณภาพดีที่สุด
  • ทำการปิดปากปล่องควันด้านบน โดยใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำเปล่า ปิดรูไว้ทั้ง 2 ปล่อง ควันที่ร้อนภายในเมื่อกระทบความเย็น จะเริ่มควบแน่นประมาณ 10 นาที จากนั้นจะกลั่นตัวออกมาเป็น หยดน้ำ ไหลออกมาทางด้านล่าง ของปล่องควัน จะได้น้ำส้มควันไม้ สมุนไพรบริสุทธิ์ โดยใช้เวลาเผาไหม้ทั้งหมด 24 ชั่วโมง
  • ปริมาณของวัตถุดิบที่ระบุนี้ ที่สามารถผลิตน้ำส้มควันไม้ ได้ 15 ลิตร การทำไปใช้ ให้ใช้ผ้าขาวบาง กรองเอาเฉพาะน้ำส้มควันไม้ เก็บไว้ใช้งาน หรือทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วค่อยกรองเอาก็ได้

การนำมาใช้ประโยชน์ได้ ในช่วงแรก เอาออกมาแล้ว ไม่สามารถใช้ได้ทันที เพราะมีความเป็นพิษสูง ต้องทิ้งไว้ในภาชนะ และเก็บเอาไว้ในที่ร่ม ประมาณ 3 เดือน เสียก่อน เพื่อให้สารประกอบหลายชนิด แยกชั้นตกตะกอน และความเป็นพิษเจือจางลงเสียก่อน

โดยเมื่อตกตะกอนแล้ว จะแยกชั้นได้ 3 ระดับคือ ชั้นบนสุดจะได้ น้ำมันเบา ที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ชั้นถัดมาเป็นลำดับที่สอง จะได้เป็น น้ำส้มไม้ และชั้นที่ตกตะกอนล่างสุดก็คือ น้ำมันทาร์ ซึ่งแต่ละสิ่งที่ได้ ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

การทำน้ำส้มควันไม้

น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์อะไรบ้าง

คุณสมบัติที่ได้ หากนำไปผสมกับสารอื่น ๆ จะไปช่วยเพิ่มคุณสมบัติของสารชนิดนั้น ให้มีฤทธิ์มากขึ้น และตัวน้ำส้มควันไม้เอง ก็ยังสามารถป้องกัน และไล่แมลงศัตรูพืช โดยไม่ต้องผสมกับสารเคมีอื่น ได้ด้วย และมีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ อีกเช่น

  • สูตรเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อน รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ผิวหนัง เพราะสารประกอบที่ได้จากเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ คล้ายยาล้างแผล และมีสารประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยกำจัดเชื้อโรคได้บางชนิด
  • สูตรเข้มข้นปานกลาง ยืนยันแล้วว่าหากผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวดและมด หากใช้ในความเข้มข้นสูงจะเปลือง
  • สูตรอ่อน ผสมน้ำ 50 เท่า จะสามารถใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง
  • สูตรเบาบาง ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะ เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัว และบริเวณชื้นแฉะ

ข้อควรระวังในการใช้

  • ก่อนนำไปใช้ ต้องทิ้งไว้จากการกักเก็บก่อน อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้สารบางอย่างมีการตกตะกอน และเจือจาง
  • เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ มีความเป็นกรดไม่สูงมาก แต่หากถูกสัมผัสโดนร่างกาย ในบริเวณที่บอบบาง อาจทำอันตรายได้ ควรระวังอย่าให้เข้าตา เพราะอาจทำให้ตาบอด
  • น้ำส้มควันไม้ ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา ให้สารเคมีที่ถูกผสมเข้าด้วยกัน มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ดังนั้น การนำไปใช้ทางการเกษตร จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับพืช แต่ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยได้
  • การใช้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ และแมลงในดิน ควรทำก่อนเพาะปลูก อย่างน้อย 10 วัน สำหรับฆ่าตัวอ่อน และทิ้งไว้เพื่อให้เจือจาง
  • การนำไปใช้ ต้องผสมน้ำให้เจือจาง ตามความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ โดยอัตราส่วนต่างกัน
  • การฉีดพ่นผักผลไม้ เพื่อให้ดอกติดผล ควรพ่นก่อนที่ดอกจะบาน หากฉีดพ่นหลังจากดอกบาน แมลงจะไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้ และดอกจะถูกกัดกร่อนทำลาย ไม่เป็นผลดี

How to

การทำ สวนผัก

การทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่เว้นว่างจากการทำสวนไร่นาอย่างอื่นเช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด หรือผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะช่วงที่อยู่ในระหว่างการเติบโตของพืชเหล่านั้น รวมทั้งรอฟ้าฝนจากธรรมชาติ ก็จะเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากการงานทั้งหลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหารายได้เพิ่มจากหลายทางเพื่อเพียงพอต่อความเป็นอยู่

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ซื้อพริกในตลาด ระวังสารพิษจากเชื้อรา

สารพิษอฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศ โดยสารพิษจากเชื้อรา (mycotoxin) คือสารพิษธรรมชาติที่สร้างจากเชื้อรา

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ปลดล๊อคกระท่อมล่าสุด ขายได้ไม่ผิดกฏหมายแล้ว

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 มีความคืบหน้าเรื่องการปลดล็อคกระท่อมล่าสุด ปี 64 เป็นผลสำเร็จแล้ว หากการนำใบกระท่อมมาทำเป็นยา หรือจำหน่าย

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ไทยกับยุทธศาสตร์การค้าชายแดน

การค้าระหว่างประเทศของไทยนั้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ 3 ตลาดหลักของโลก อย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Organic farming for sustainable agriculture

Organic farming has been a popular topic discussed lately.

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร

รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต

อ่านบทความนี้ต่อ