ข่ามีมูลค่าในเชิงการค้าที่เป็นประโยชน์โดยตรงแถมสามารถขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ มีตลาดข่ารองรับมากมาย การเตรียมการปลูกเพื่อผลิตก็ไม่ยาก และประโยชน์ทางอ้อมสำหรับ การปลูกข่า นั้นก็เป็นระบบการป้องกันแมลงได้อีกรูปแบบหนึ่ง
เพราะหากปลูกแซมหรือปลูกข่าดักทิศทางแมลงไว้ ก็จะช่วยลดการเข้าทำลายของแมลงในพืชผลอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน เพราะแมลงไม่ถูกโรคกับพืชที่มีกลิ่นฉุน โดยเฉพาะข่า วิธีการปลูกข่า ให้ได้ผลผลิตที่ดีในพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้ง โดยเฉพาะหน้าร้อนจะแล้งมากทุกปีอย่างเห็นได้ชัด แต่สามารถปลูกข่าได้ผลดีมาก
ขั้นตอนการปลูกข่า ให้ได้ผลดี
การเตรียมดินสำหรับปลูกข่า ข่าเป็นพืชที่ชอบชื้น ดินร่วนซุย แต่ไม่ชอบแฉะและน้ำขัง หากพื้นที่ไหนมีน้ำขังก็คงเป็นเรื่องยากสักหน่อยสำหรับการปลูกข่า หรืออาจะแก้ไขด้วยการไถเปิดหน้าดินแล้วก่อนขึ้นเป็นคัน
แต่หากเป็นพื้นที่ราบปกติแล้วก็สามารถไถเปิดหน้าดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตรแล้วคลุกกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน หรือหากเป็น การปลูกข่าเพื่อใช้รับประทาน ในครัวเรือนก็สามารถใช้จอบขุดขึ้นแปลงเล็กๆ หรือขุดหลุมแล้วคลุกดินด้วยปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมักได้ไม่ยุ่งยาก
การเตรียมต้นพันธุ์ข่า สำหรับปลูก ข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายแต่หากท่านใดมีโอกาสก็อยากจะแนะนำต้นพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ที่มีอายุได้ 8 – 9 เดือนเพราะมีตามากและรากงอกใหม่ได้ง่าย เพียงแตค่แยกแง่งตัดใบตัดรากออกให้หมดแล้วล้างให้สะอาดก็เป็นอันใช้ได้
แต่หากท่านไหนไม่สามารถหาต้นพันธุ์ได้นั้นก็สามารถหาซื้อไปตามตลาดโดยคัดเลือกหัวหรือแง่งที่มีตาตามข้อ ตัดแต่งส่วนที่เน่าหรือช้ำออกเพราะจะทำให้ลุกลามในภายหลังได้และเมื่อเสร็จแล้วก็นำไปแช่ในน้ำยากันเชื้อรา หลังจากนั้นก็นำไปเพาะชำในแกลบดำหรือวัสดุปลูกชนิดอ่อนเช่นแกลบหรือขุยมะพร้าวแล้วรดน้ำให้ชุ่มเป็นเวลา 10 – 15 วัน เพื่อรอให้รากงอกและแทงยอดออกมาใหม่
หรือหากท่านใดนิยมการปลูกแบบบ้านๆ ก็ไม่ต้องพิถีพิถันอะไรมากก็สามารถปักลงดินแล้วรดน้ำได้เลยแต่ถ้าหากอยากให้อัตราการรอดสูงก็อาจจะต้องพึ่งพาการอนุบาลเสียเล็กน้อยเพื่อศิริมงคลแก่ชีวิต
การปลูกข่าให้ได้ผลดี การปลูกนั้นก็ไม่มีอะไรยุ่งยากเกินไปกว่าการขุดหลุมให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตรและกว้าง 30 เซนติเมตร แล้วอาจจะรองก้นหลุมด้วยใบสะเดา ยาสูบหั่นฝอย หรือพืชที่มีกลิ่นฉุนเพื่อดักทางแมลงหรือหนอน แล้วตามด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า (หลีกเลี่ยงการใช้มูลวัวเพราะง่ายต่อการแพร่ของหนอนกอ)
สำหรับการรองก้นหลุมแล้วจึงกลบดินถมให้ลึกประมาณ 20 – 25 เซนติเมตรโดยให้ตาของหน่อข่าชี้ขึ้นด้านบน โดยทิ้งระยะห่างระหว่างกอที่ 1 – 1.2 เมตร แล้วคลุมด้วยฟางหรือวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำจากการถูกแดดเผา หรือไม่ใช้ก็ได้ก็ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของประชาชน อิอิอิ
แต่ถ้าจะให้แนะนำก็อยากจะให้หาวัสดุคลุมให้เรียบร้อยเพื่อรักษาความชื้นในดินและถึงแม้จะดูยุ่งยากในช่วงแรกแต่ก็เป็นผลดีในระยะยาว การดูแลรักษาข่าหลังการปลูก ถึงแม้ว่าข่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก โตได้ตามมีตามเกิดแต่หากต้องการผลผลิตที่ดีมีคุณภาพนั้นก็เห็นทีจะต้องบำรุงให้งาม เพื่อขายได้ราคา
ท่านอื่นไม่แน่ใจว่าจะใช้อะไรแต่สำหรับผู้เขียนนั้นนิยมใช้ปุ๋ยหมักทำเองที่ได้จากการหมักผักตบชวากับมูลไก่และแกลบ โดยใส่บริเวณโคนต้นจำนวน 0.5 กิโลกรัมต่อต้นเดือนละครั้ง (ขออภัยในความขี้เกียจ) หากเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็คงจะใส่น้อยกว่านี้ตามอัตราส่วน ส่วนการรดน้ำนั้นหากเพื่อนๆ มีฟางหรือวัสดุคลุมไว้ก็จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้ดีทำให้ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ โดยอาจจะรดน้ำแต่อาทิตย์ละครั้ง
แต่หากไม่มีวัสดุคลุมก็ควรดูจากระดับความชื้นในดิน และสำหรับไร่ผู้เขียนเองนั้นก็เพิ่มเติมด้วยการรดน้ำหมักชีวภาพทุกอาทิตย์เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
ปลูกข่าอ่อนรายได้ดี กำไรงาม
ชาวบ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กว่า 100 หลังคาเรือน แห่ปลูกข่าเป็นอาชีพเสริมควบคู่กับการทำนา เน้นเก็บข่าอ่อนป้อนตลาดที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรเลี้ยงครอบครัวตลอดทั้งปี
เรื่องราวของเกษตรกรที่บ้านห้วยขะยูง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี หันมาปลูกข่า เน้นเก็บเกี่ยวข่าอ่อนเพื่อส่งตลาดนับร้อย ๆ ครอบครัวที่ว่านี้ ผู้สื่อข่าวได้ไปดูกิจการของชาวบ้านที่ร่ำลือว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่ไม่มีการอพยพ แรงงานไปต่างถิ่น และหมู่บ้านที่ชาวบ้านไม่เป็นหนี้สินอีกด้วย
เพราะแต่ละครอบครัวจะมีรายได้จากการขายข่าอ่อนเดือนละเป็นหลักหมื่นบาท ทุกวันนี้บ้านห้วยขะยูง เป็นแหล่งใหญ่ที่สุดที่มีการปลูกข่าอ่อนส่งขายภาคอีสาน โดยมีตลาดหลักที่รับซื้อคือที่สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ แม้ในพื้นที่จังหวัดอื่นอย่างที่ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ แต่ปลูกน้อยกว่า
นางเทียน มังคะรินทร์ เกษตรกรวัย 65 ปี ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกข่าอ่อนเป็นอาชีพเสริมที่บ้านห้วยขะยูง โดยนางเทียน บอกว่า ยึดอาชีพปลูกข่าพันธุ์พื้นเมืองขายสืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ โดยแต่ละครอบครัวจะปลูกข่าไม่ น้อยกว่าครอบครัวละ 1 ไร่ สามารถเก็บผลผลิตออกขายสร้างรายได้เสริมให้ครอบครัวไม่ต่ำกว่ารายละ 1 หมื่นบาทต่อเดือน หรือเฉลี่ยต่อวันอย่างต่ำครอบครัวละ 200-500 บาท ทำให้ชาวบ้านห้วยขะยูงไม่เดือดร้อนและไม่มีหนี้สินเหมือนกับที่อื่น
ที่สำคัญนางเทียนบอกว่า อาชีพการปลูกข่าอ่อนขาย เป็นอาชีพที่ดีเพราะการปลูกข่าไม่ต้องดูแลมาก ไม่มีโรครบกวนเหมือนพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยด้วย รดน้ำเพียงเดือนละ 2 ครั้ง และใส่ปุ๋ยธรรมชาติมูลสัตว์ เจริญเติบโตได้ดี หลังจากปลูกลงดินประมาณ 6 เดือนสามารถเก็บผลผลิตขายได้
โดยขุดข่าอ่อนนำมาลอกเอาลำต้นที่แก่ออกจะเหลือลำต้นข่าข้างใน ซึ่งลำอ่อนหัวข่าอ่อนนำมามัด ขายส่งมัดละ 6 บาท โดยจะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงบ้าน ส่วนข่าอ่อนคนอีสานนิยมรับประทานนำไปต้มจิ้มน้ำพริก แกงข่าอ่อน ถือเป็นพืชสมุนไพรปลอดสารพิษรับประทานแล้วมีผลดีต่อร่างกายอีกด้วย
ประโยชน์ของข่า
ข่านั้นมีมูลค่าในเชิงการค้าซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงจากการปลูกข่าซึ่งข่านั้นขายได้ทั้งข่าอ่อนและข่าแก่ หากท่านผู้เขียนมี ตลาดข่าอ่อนรองรับ ก็แนะนำให้เตรียมการปลูกเพื่อผลิตขิงอ่อนเพราะราคาดีและขายง่ายกว่าข่าแก่มาก และประโยชน์ทางอ้อมสำหรับการปลูกข่านั้นก็เป็นระบบการป้องกันแมลงได้อีกรูปแบบหนึ่งเพราะหากปลูกแซมหรือปลูกข่าดักทิศทางแมลงไว้แมลงก็จะช่วยลดการเข้าทำลายพืชผลอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกันเพราะแมลงไม่ถูกโรคกับพืชที่มีกลิ่นฉุน
ประโยชน์ทางยา เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหาร การปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า
ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ข่า มีประโยชน์มากมาย แถมยังทำรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แถมยังสามารถปลูกติดบ้านไว้ทุกครัวเรือน เพราะข่าเป็นพืชที่ปลูกง่ายไม่ต้องมีการดูแลมาก
Organic Vegie
ผักปลอดสารพิษ ปลอดภัย ที่ขอนแก่น
ขึ้ืนชื่อว่า ผักปลอดสารพิษ หลายท่านคงจะคุ้นเคยและได้ยินกันมานมนานมาบ้างแล้ว เพราะนอกจากจะเป็นผักที่ปลอดภัยแล้ว
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เร่งฟื้นฟูเกษตรกร
ข่าวเกษตรวันนี้ โดยกระทรวงเกษตรมีแผนและนโยบาย เร่งช่วยเหลือเกษตรกร หลังปัญหาน้ำท่วมเริ่มมีการคลื่คลายมากแล้วนั้น ยันไม่มีงานอืดแน่นอน โดยนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าขณะนี้กระทรวงเกษตรฯได้ตั้งคณะกรรมการติดตามโครงการเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรหลังน้ำลดตาม 2 ชุด
อ่านบทความนี้ต่อHow to
เลือกปลูกผักหน้าฝน อย่างฉลาด
ปลูกผักหน้าฝน หลายครั้งหลายหน ใครๆ ก็คิดแต่ว่า หน้าฝนนั้นปลูกอะไรก็ขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลารดน้ำผัก ไม่เปลืองน้ำ แถมดินก็ชุ่มฉ่ำ ไม่ร้อน
อ่านบทความนี้ต่อHow to
ยุคนี้ทำไมคนถึงนิยม ปุ๋ยมุกมังกร
นักอ่านอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หรือ อะมิโนโปรตีน
อ่านบทความนี้ต่อHow to
กล้วยด่างฟลอริด้า การเลี้ยงและดูแลให้สวย
กล้วยด่างฟลอริด้า กล้วยป่าด่าง ๆ ที่ดาราสาวอย่าง ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ ชอบถ่ายลง IG
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
พืชผักจากการทำเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่
หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย
อ่านบทความนี้ต่อ