การปรับปรุงดิน สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูก ถือเป็นหัวใจหลักเลยก็ว่าได้ หากดินไม่ดี ปลูกอะไรก็ยากจะงอกงาม
ในการปลูกพืชให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้น หลายคนคิดถึงแค่ว่า การใส่ปุ๋ย ก็เพียงพอแล้ว โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ปุ๋ยเคมีคือสิ่งจำเป็นอันดับต้น ๆ แน่นอนมันใช่ในระยะแรก แต่รู้หรือไม่ว่า ในระยะยาว
การใช้ปุ๋ยเคมี ถือเป็นการทำลายดินอย่างร้ายแรง ปัญหาที่เกิดกับดินส่วนใหญ่ในเรื่องของ ดินแห้งกรัง ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ล้วนแต่มีสาเหตุหลักมาจากปุ๋ยเคมี
แล้วจะทำอย่างไร หากต้องการดิน ให้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในระยะยาว ผู้เขียนเชื่อว่า ทุกคนรู้อยู่แล้ว ว่าการปลูกพืชหมุนเวียน โดยเฉพาะหากปลูกพืชตระกูลถั่ว สามารถทำให้ดินเกิดความอุดมสมบูรณ์ได้
แต่ใช่ว่าใครจะทำกันได้ง่าย ๆ เพราะหากลองให้ทำแบบธรรมชาติสุด ๆ ก็อาจใช้เวลาหลายปี บางครั้งชั่วอายุคน ดินยังไม่กลับมาดีเลยด้วยซ้ำ แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะดีที่สุด
แน่นอนเราไม่อาจละทิ้ง พืชตระกูลถั่ว ไปได้ เราสามารถนำใบแห้ง มาทำปุ๋ยเพื่อการปรับปรุงดินได้ โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา มีถั่วหลายร้อยชนิด พืชตระกูลถั่วที่เป็นไม้ใหญ่ที่สุด เช่น มะแต้ มะค่า มะขามเทศ จามจุรี ก้ามปู จนถึงพืชตระกูลถั่วเล็กที่สุด เช่น ถั่วมะแฮะ ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วขอ
ต้นก้ามปู
ต้นมะขามเทศ
ต้นถั่วเขียว
พืชตระกูลถั่วเหล่านี้ ล้วนมีประโยชน์ต่อดินเป็นอย่างมาก หากวันนี้เราเริ่มปลูกมัน และนำสิ่งที่มันให้เรากลับมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ใบแห้ง ต้น กิ่งก้านต่าง ๆ รวมไปถึง ดอกผล
แต่ก่อนถึงตอนนั้น เราทำวิธีปรับปรุงดินเหล่านี้ให้ได้ก่อน
7 วิธีการปรับปรุงดิน ให้มีคุณภาพสูงสุด
- ใช้ปุ๋ยคอก การใช้มูลสัตว์ต่างๆ ซึ่งมูลสัตว์มักจะสูญเสียธาตุอาหารไปได้ง่าย จึงควรใช้เศษซากพืช เช่น ฟาง แกลบฯ รองพื้นคอกสัตว์ เพื่อดูดซับธาตุอาหารจากมูลสัตว์ไว้ด้วย
- ใช้ปุ๋ยหมัก การนำเอาเศษซากพืชที่เหลือจากการเพาะปลูก เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นถั่วต่างๆ ผักตบชวา และของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมตลอดจนขยะมูลฝอย มาหมักจนเน่าเปื่อยแล้วนำไปใช้ในไร่นาหรือสวน
- ใช้ปุ๋ยพืชสด การไถกลบส่วนต่างๆ ของพืชที่ยังสดอยู่ลงในดิน เพื่อให้เน่าเปื่อยเป็นปุ๋ย ส่วนใหญ่จะใช้พืชตระกูลถั่ว เพราะให้ธาตุไนโตรเจนสูง และย่อยสลายง่าย โดยเฉพาะในระยะออกดอก อาจปลูกแล้วไถกลบในช่วงที่ออกดอกหรือปลูกแล้วตัดส่วนเหนือดินไปไถกลบลงในดิน พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอัฟริกัน โสนอินเดีย ปอเทือง ถั่วเขียว ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ กระถินยักษ์ และแหนแดง
- ปลูกพืชคลุมดิน นิยมใช้พืชตระกูลถั่วที่มีคุณสมบัติคลุมดินได้หนาแน่นเพื่อกันวัชพืช ลดการชะล้าง เก็บความชื้นไว้ในดินได้ดี และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วคุดซู ถั่วคาโลโปโกเนียม
- ใช้วัสดุคลุมดิน นิยมใช้เศษพืชเป็นวัสดุคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันการอัดแน่นของดินเนื่องจากเม็ดฝน ป้องกันวัชพืชขึ้น และเมื่อเศษพืชเหล่านี้สลายตัว ก็จะกลายเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
- ใช้เศษเหลือของพืชหรือสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ส่วนของต้นพืช เศษพืชที่เหลือ เช่น ต้นและเปลือกถั่วลิสง แกลบ ตอซัง หรือวัสดุอื่นๆ ถ้าไม่มีการใช้ประโยชน์ควรไถกลบกลับคืนลงไปในดิน ส่วนเศษเหลือของสัตว์ เช่น เลือดและเศษซากสัตว์จากโรงงานฆ่าสัตว์ ก็สามารถใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุได้
- ปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชหลายชนิดหมุนเวียนในพื้นที่เดียวกัน ควรมีพืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีคุณสมบัติบำรุงดินร่วมอยู่ด้วยเพื่อให้การใช้ธาตุอาหารจากดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลดการระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนช่วยให้ชั้นดินมีเวลาพักตัวในกรณีพืชที่ปลูกมีระบบรากลึกแตกต่างกัน
การปรับปรุงบำรุงดิน ควรใช้หลายๆ วิธีดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน เพราะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ หากใช้เพียงชนิดเดียวทำให้ต้องใช้ปริมาณที่มาก จึงควรพิจารณาปริมาณการใช้ตามกำลังความสามารถที่มี
แต่ถ้าใช้การปรับปรุงบำรุงดินหลายวิธีร่วมกัน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละชนิดก็ลดลง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากและควรมีการปฏิบัติบำรุงดินอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ต่อการผลิตพืชผลทางการเกษตรในระยะยาวต่อไป
Best Infomal
มะนาว และผลไม้รสเปรี้ยวอื่น ที่แทนกันได้
มะนาวแพง ทุกปี เหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น แม้ว่าในทุกปี พืชผักผลไม้ ผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายชนิด ในช่วงเวลาหนึ่ง จะมีการขยับขึ้น
อ่านบทความนี้ต่อOrchid information
รองเท้านารีดอยตุง ยอดเยี่ยม
คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาดอยตุงฯ เปิดเผยว่า ในช่วงงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ณ สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทางโครงการพัฒนาดอยตุงฯ
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
Organic Farming – Modern technique to improve the soil
There are various types of farming and one among them is Organic farming.
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การผลิตผักสลัดไร้ดิน hydroponics
การผลิตผักสลัดแบบ Hydroponics ซึ่งมีคุณค่าและโภชนาการสูง ด้วยระบบพืชไร้ดิน ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระบบผักไร้ดิน
อ่านบทความนี้ต่อHow to
โคกหนองนาโมเดล หรือแค่ศิลปะในการขุดบ่อ
บทความของโมเดลนี้มีความนิยมกันมากช่วงปลายปี 63 รวมทั้งต่อจากนั้นก็กลายเป็นแค่กระแส ใครอยากทำอะไรก็ได้อิสระโดยไม่ได้อิงจุดประสงค์หลักที่ถูกต้อง
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
เกษตรผสมผสาน คือข้อได้เปรียบของพืชผัก
คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการ กระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี และมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่างๆ เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่นๆ
อ่านบทความนี้ต่อ