การเกษตรแบบชีวพลวัตร กับระบบเกษตร

รูปแบบของการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่ แนวทางการเกษตรแบบองค์รวม งานเกษตรแนวมนุษยปรัชญาหรือที่เรียกว่า เกษตรชีวพลวัต

จากการเกษตรเคมีและอินทรีย์ เป็นการพัฒนาระบบฟาร์มอินทรีย์ โดยเน้นไปที่คุณภาพของผลผลิตและสภาพของดินมีการสำรวจจากเกษตรกรพบว่าดินกำลังเสื่อมสลบายเนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมี อันจะส่งผลต่อผลผลิตและพืชพันธ์ที่ปลูกเอาไว้

คุณภาพของผลผลิตที่แย่ลงมีผลมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีฆ่าแมลง รวมถึงจิญวิญญาณของเกาตรกรที่เปลี่ยนไป ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ สิ่งที่ตายกับสิ่งมีชีวิตมีความแตกต่างกัน

Biodynamic agriculture หรือ Biodynamic farming เกษตรชีวพลวัตร จึงเป็นระบบการทำฟาร์มแบบนิเวศที่พัฒนาต่อมาจากเกษตรแบบเคมี

นอกเหนือจาก เกษตรอินทรีย์ แล้ว ยังมีระบบการเกษตรอีกหลายระบบที่ได้มีการพัฒนาขึ้น เพื่อพยายามนำเสนอแนวทางใหม่ในการพัฒนาการเกษตร ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ระบบเกษตรที่เน้นความสำคัญด้านความปลอดภัยของผลผลิตในการบริโภค

ระบบที่ต้องการสร้างความมั่นคงให้กับการเผลิตและเกษตรกร และระบบที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และบางระบบ/แนวทางก็เป็นระบบที่พบเฉพาะแต่ในประเทศไทย (เช่น เกษตรปลอดสารพิษ) แต่บางระบบก็เป็นระบบที่มีในต่างประเทศด้วย

ระบบเกษตรแต่ละประเภท เกษตรชีวพลวัตร เกษตรออแกนิค

ระบบเกษตรแต่ละประเภท

  • เกษตรอินทรีย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ออร์แกนิค, organic farming, ecological farming, biological farming เป้าหมายคือเน้นในเรื่องการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มีการตรวจรับรองมาตรฐานหลายมาตรฐาน และมีหลายหน่วยตรวจรับรองอย่างเป็นทางการ
  • เกษตรธรรมชาติ หรือ natural farming เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง แยกย่อยออกมาจากเกษตรอินทรีย์อีกที
  • วนเกษตร หรือ agroforestry เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • เพอร์มาคัลเชอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เกษตรถาวรภาพ, เกษตรกรรมถาวร, permaculture เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • ไบโอไดนามิค หรือ เกษตรชีวพลวัตร, Biodynamic เป้าหมายคือการอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีการตรวจรับรองโดยตรง
  • เกษตรผสมผสาน หรือ Integrated farming เน้นสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ New Theory Agricutlrue ระบบนี้เน้นสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรยั่งยืน หรือ Sustainable agriculture เน้นการสร้างความมั่นคงให้กับการผลิต/เกษตรกร ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เน้นความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร และมีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เกษตรปลอดภัยจากสารพิษ หรือ เกษตรปลอดสาร ความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร และมีการตรวจรับรองมาตรฐาน
  • กสิกรรมไร้สารพิษ หรือ เกษตรปลอดสารเคมี เน้นความปลอดภัยของผลผลิตการเกษตร แต่ไม่มีการตรวจรับรองมาตรฐาน

คงจะพอเข้าใจระบบเกษตรประเภทต่างๆ อย่างคร่าวๆ กันแล้ว

How to

ไผ่ตงลืมแล้ง แนะนำการปลูกเพื่อสร้างรายได้

ใครไม่รู้จัก ไผ่ตงลืมแล้ง ยกมือขึ้น ไผ่ชนิดนี้มีหลายชื่อเรียกด้วยกัน เช่น ไผ่กิมซุง ไผ่ลืมแล้ง ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พืชมงคล ประตูสู่การเกษตร

หากเอ่ยถึงวันพืชมงคล หลายท่านต้องนึกถึง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกว่า พิธีแรกนา ซึ่งพิธีนี้ จัดเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ต้นอะโวคาโด การปลูกลงดินให้ได้ผลดก

อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

มูลไส้เดือน ตัวช่วยเกษตรอินทรีย์

ไส้เดือน สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในดิน มีลักษณะลำตัวยาว สีแดง ดำ แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ปลูกผักไร้ดิน ที่หาดใหญ่

ผักไร้ดินชุมชนปลักกริมและชุมชนดีแลนด์-ไทยเจริญ ดังชั่วข้ามคืน ชาวบ้านและองค์กรต่างๆ แห่ติดต่อขอดูงานเพียบ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พอเพียง หรือ อุตสาหกรรม ในระบบเกษตร

หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก

อ่านบทความนี้ต่อ