BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย

จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง

และกำลังหยั่งรากลึกลงไปในพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย และเป็นประเด็นโลกที่น่าจับตามากที่สุดในขณะนี้หลายองค์กรจึงได้หยิบยกเอามาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างตลาดและภาชนะบรรจุอาหารภายใต้แบรนด์ Bio ต่างๆ ซึ่งได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับตลาดด้วยจุดขายที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติล้วนๆ ย่อยสลายได้เอง ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับผู้บริโภค

ว่ากันด้วยเรื่อง โฟมชานอ้อย ที่กำลังมาแรงและบุกตลาดในขณะนี้ เป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากบริษัท บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด ภายใต้ตรา BIO ซึ่งมีตั้งแต่ จาน ชาม ถาด ถ้วย แก้วน้ำ กล่องมีฝาปิดขนาดต่างๆ ให้เลือกมากมายกว่า 27 แบบ ซึ่งทั้งหมดนั้นผลิตจากวัสดุที่เหลือจากกิจกรรมทางการเกษตร นั่นก็คือ เยื่อกระดาษชานอ้อย

เขาว่ากันว่าบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยดีกว่าโฟม

ระหว่างบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยกับโฟม คุณคุ้นหน้าเคยหูกับอย่างไหนมากกว่ากัน หากจะให้เดาก็ขอทายว่าต้องเป็นโฟมแน่นอน เพราะหลังจากหมดยุครุ่งเรืองของใบตองในสมัยก่อน รอบตัวเราก็เต็มไปด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟมหรือพลาสติกแทบทั้งสิ้น แม้จะมีการรณรงค์การใช้ซ้ำหรือการใช้ถุงผ้า แต่ดูเหมือนว่ายังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

บรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ถึงแม้จะมีคุณสมบัติใช้บรรจุอาหารได้เหมือนกัน แต่เรื่องคุณภาพและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว นับว่ากินขาดเมื่อเทียบกับโฟมและพลาสติกชนิดอื่นแทบไม่เห็นฝุ่นเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการผลิต หรือ กระบวนการย่อยสลาย ซึ่ง โฟมชานอ้อย มีกระบวนการผลิตที่เรียบง่าย และประหยัดพลังงานกว่า

เนื่องจากใช้ไอน้ำแทนไฟฟ้า ซึ่งไม่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต ไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสี(เทคโนโลยี ECF) ผลิตภัณฑ์จึงมีสีน้ำตาลอ่อนตามสีชานอ้อยธรรมชาติ แถมยังผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV จึงมั่นใจได้ว่าสะอาดและปลอดภัยต่อเราและโลกแน่นอน

ปกติแล้วชานอ้อยเป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล เป็นเยื่อที่ไม่แข็งแรงพอจะนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ใดๆ จะถูกนำไปใช้ก็แค่เป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ซึ่งก็ก่อให้เกิดมลพิษสูงเช่นกัน เพราะฉะนั้นเมื่อถูกนำมาทำเยื่อกระดาษจึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่แทบจะไร้ค่า ซึ่งในบ้านเรามีชานอ้อยถูกทิ้งๆ ขว้างๆ อยู่เยอะมาก แต่ในอนาคตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมอาจพัฒนาไปสู่การใช้ต้นข้าว ข้าวโพด หรือผักตบชวาเป็นวัตถุดิบก็ได้

บรรจุภัณฑ์ของไบโอนี้ถือเป็นนวัตกรรมสีเขียวที่มีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ ตั้งแต่กระบวนการผลิตที่เรียบง่าย ประหยัดพลังงานกว่าการผลิตพลาสติก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่เยื่อจากไม้ยืนต้น และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ECF คือไม่ใช้คลอรีนในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ทำให้ได้เยื่อกระดาษที่สะอาดและปลอดภัย และผ่านการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV อีกครั้งก่อนจะส่งถึงผู้บริโภค

ในแง่การใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกและโฟมก็พบว่า ไบโอมีข้อดีกว่ามากตรงที่สามารถใช้ใส่น้ำ และอาหารทั้งเย็นจัดจนถึงร้อนจัด (-40 ถึง 250 องศาเซลเซียส) เข้าเตาอบและเตาไมโครเวฟได้ ไม่มีสารปนเปื้อนก่อมะเร็ง ขณะที่โฟมและพลาสติกทำไม่ได้อย่างนี้ แถมยังมีการปนเปื้อนสารสไตรีน มอนอเมอร์ ไดออกซิน และไวนิล คลอไรต์ มอนอเมอร์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น

BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จาก ชานอ้อย eco-friendly

สำคัญที่สุดคือ จานชามจากชานอ้อยย่อยสลายได้ในเวลา 45 วันเท่านั้นเอง แต่อุปสรรคที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยังไม่เปิดใจเปลี่ยนมาใช้จานชามจากชานอ้อยก็เพราะ ราคาที่แพงกว่าโฟม 2 เท่า แม้ว่าจะถูกกว่าพลาสติกใช้แล้วทิ้งก็ตาม เมื่อคนใช้น้อย สินค้าผลิตน้อย ต้นทุนต่อชิ้นจึงสูง แต่ถ้าเมื่อไหร่คนหันมาใช้เยอะขึ้น ราคาก็ย่อมจะถูกลง เหมือนในหลายๆ ประเทศที่บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ราคาถูกกว่าโฟมแล้ว และในที่สุดภาชนะโฟมจะต้องสูญพันธุ์ไปจากโลกเสียที

สามปีที่แล้ว ไต้หวันประกาศงดใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร กรกฏาคมปีที่แล้ว นครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ ประกาศห้ามใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารและอีกสิบห้าวันต่อมามีประกาศให้เลิกใช้ถุงก๊อบแก๊บ ปีหน้าประเทศแคนาดาจะปลอดโฟม ฝรั่งเศสประกาศตั้งแต่ปี 2005 ว่าในปี 2010 ประเทศเขาจะไม่มีกล่องโฟมและถุงก๊อบแก๊บ ในญี่ปุ่นเมื่อคุณซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตโดยไม่เอาถุงพลาสติก เขาจะคืนเงินให้ถุงละ 10 เยน

ในเมืองไทย เรายังไม่เห็นมาตรการที่แสดงถึงความจริงใจต่อความห่วงใยในสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจากภาครัฐ มีเพียงองค์กรบางแห่งเท่านั้นที่เริ่มขยับตัวบ้างแล้ว เช่น ในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีนโยบายให้เปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้แทนกล่องโฟม

ขณะนี้ BIO ยังเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้เพียงแบรนด์เดียวของไทยที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นจริงเป็นจัง ปริมาณที่ผลิตได้ยังแค่ 1% ของปริมาณโฟมที่คนไทยใช้กัน กว่าจะถึงวันที่มีเรามีบรรจุภัณฑ์ปลอดภัยเป็นทางเลือกให้ใช้กันได้อย่างแพร่หลาย ไม่รู้ว่าสุขภาพจะเป็นอันตราย โลกจะถูกทำร้าย และขยะจะล้นเมืองไปขนาดไหน

ที่มา thaigreenmarket.com / green.in.th ภาพ compasscm.com

How to

ต้นอะโวคาโด การปลูกลงดินให้ได้ผลดก

อะโวคาโด เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง หลายคนเข้าใจว่าผลไม้ชนิดนี้ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

มีแปลงเกษตรบน พื้นที่ 1 ไร่ จะออกแบบอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด มาดูบทความนี้ มีคำแนะนำที่ดี ในการสร้างพื้นที่เพียงไร่เดียวให้คุ้ม แถมยังทำรายได้สูงกว่าการเพาะปลูก

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ต้นโทงเทงไทย กับคุณสมบัติที่หลายคนไม่รู้

หากเปรียบเทียบรสชาติของ โทงเทงไทย กับ โทงเทงฝรั่ง ผู้เขียนยอมรับว่าพันธุ์ไทยจะอร่อยกว่า หากใครยังไม่เคยลิ้มรส ลองหาตามข้างทาง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ใบกะเพรา Sweet – Holy

ถ้าหากว่ามีอะไรที่รสชาดหวาน กินได้ กินแล้วทั้งอร่อย ทั้งศักดิ์สิทธิ์ ใครจะไม่กิน ขนาดที่ว่าคนทั้งโลกก็ยังรู้สึกหลงไหลไปกับมัน ใช่แล้วล่ะ มันคือใบโหระพาและใบกะเพรา ที่ได้รับความนิยทแพร่หลายทั่วโลก ใช้กินได้ทั้งในอาหารทุกชาติทั้งตะวันตกและตะวันออก จะกินสดๆ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก็ได้ทั้งนั้น ยิ่งมีกลิ่น รสที่แสนอร่อย แถมมีสรรพคุณสมุนไพรอีกด้วย

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

นับได้ว่า พืชสมุนไพร ถูกแฝงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมานานแล้ว เพราะทั้งอาหารที่บริโภคทุกวันนั้นมีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรแทบทั้งสิ้น ทั้งอร่อยและมีสรรพคุณช่วยในการบำบัดโรค รวมไปถึงการดื่มเพื่อดับกระหายคลายร้อน โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

มะม่วงหาวมะนาวโห่ สมุนไพรที่ควรมีไว้ติดบ้าน

มะม่วงหาวมะนาวโห่ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bengal Currant แต่หากพูดแต่ชื่อ คงจะงง การจะอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจ คงต้องมีให้ทดลองชิม

อ่านบทความนี้ต่อ