ควบคุมและดับกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่

กลิ่นแอมโมเนีย ถือเป็นกลิ่นที่มีความฉุนมาก เป็นกลุ่มก๊าซที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยสัตว์ที่สัมผัสแอมโมเนียอยู่เสมอจะเกิดอาการแพ้

ระคายต่อเยื่ออ่อนต่างๆ ของอวัยวะในร่างกาย เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ตา หู ปาก จมูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบทางเดินหายใจ ทำให้สัตว์เครียด อ่อนแอลง แสดงอาการคล้ายเป็นหวัด เช่น มีน้ำมูก น้ำตาไหล

จากนั้นจะถูกเชื้อโรคเข้าซ้ำเติมจนเป็นโรคต่างๆ ได้ง่าย ในสัตว์ปีกจะไวต่อก๊าซแอมโมเนียมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในพื้นดินที่มีไนโตรเจนปะปนอยู่ไม่ว่าจากเศษอาหาร มูล ฉี่ เมื่อได้รับความชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสม เชื้อจุลินทรีย์ในธรรมชาติก็จะย่อยอินทรีย์สารเหล่านี้แล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา หากปล่อยให้สะสมอยู่นานก็จะมีแอมโมเนียมากขึ้น

การตากแห้งรวมกองก็เช่นเดียวกันหากโดนฝนหรือน้ำจนเปียกก็สามารถปล่อยแอมโมเนียออกมาอีกเหมือนเดิม รวมถึงการชะล้างลงดินส่งให้เกิดขบวนการแอมโมนิฟิเคชัน ทำให้ไนโตรเจนแตกตัวออกแล้วแล้วปล่อยแอมโมเนียต่อ

การนำไคลน็อพติโลไลท์มามาหว่านหรือผสมอาหารเพื่อควบคุมแอมโมเนียในเล้าไก่ ซึ่งอาจจะเป็นเล้าไก่เนื้อที่เลี้ยงบนพื้นดิน พื้นปูนหรือเล้าไก่ไข่ที่มีกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลรุนแรง รวมถึงบ่อพักพักมูลสำหรับผลิตแก็สหรือเพื่อทำปุ๋ยหมักก็ตามแต่ บางครั้งอาจส่งผลก่อกวนเพื่อนบ้านและเหตุดังกล่าวนี้เองที่ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันมาหลายรายแล้ว

สำหรับการควบคุมขจัดกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่แนะนำให้ใช้ไคลน็อพติโลไลท์หว่านในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 100 ตารางเมตร ส่วนบ่อพักมูลนั้นใช้หว่านในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 40 ตารางเมตร กลิ่นก๊าซ กลิ่นแอมโมเนียที่ไม่พึงประสงค์ในเล้าไก่ก็จะถูกจับตรึงไว้จนหมด แต่ถ้าหากนำมูลไก่มาปรับปรุงบำรุงดินก็จะเป็นปุ๋ยละลายช้าอย่างดี ช่วยป้องกันแมลง หนอน ไร รา เนื่องจากในเนื้อของไคลน็อพติโลไลท์นั้นอุดมไปด้วยซิลิก้า

สำหรับการคลุกผสมอาหารให้ใช้อัตรา 3 กิโลกรัมต่ออาหาร 100 กิโลกรัมหรือ 3 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนอาหาร เนื่องจากคุณสมบัติของเนื้อไคลน็อพติโลไลท์ดังกล่าวก็จะไปจับตรึงก๊าซต่างๆ ภายในลำไส้ของสัตว์ เวลาขับถ่ายมูลออกมาเนื้อสารก็จะจับตรึงก๊าซหรือกลิ่นได้ในทันที หากยังมีกลิ่นเหม็นให้หว่านทับลงไปที่กองหรือบ่อพักอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังช่วยจับตรึงทำลายสารพิษกลุ่มอะฟลาท็อกซินที่ตกค้างติดมาในอาหาร ช่วยลดอัตราการตายของไก่ให้น้อยลง ส่งผลให้เจริญเติบโตดี ผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

การดับกลิ่น และควบคุม กลิ่นแอมโมเนีย ในเล้าไก่

เกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือหาซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพได้ที่ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com (02-9861680-2) หรือนักวิชาการชมฯ (081-3983128)

How to

ไผ่ตงลืมแล้ง แนะนำการปลูกเพื่อสร้างรายได้

ใครไม่รู้จัก ไผ่ตงลืมแล้ง ยกมือขึ้น ไผ่ชนิดนี้มีหลายชื่อเรียกด้วยกัน เช่น ไผ่กิมซุง ไผ่ลืมแล้ง ตงลืมแล้ง ไผ่บีเซย์

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

Organic Farming – Modern technique to improve the soil

There are various types of farming and one among them is Organic farming.

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

อันตรายจากสารกันชื้นในอาหาร

ในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีทางด้านอาหารมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

โทงเทง เบอร์รีไทย

โทงเทงฝรั่ง หรือแคปกูสเบอร์รี จัดเป็นเบอร์รีของไทย ที่แสนอร่อยและน้อยคนที่จะรู้จักผลไม้ชนิดนี้ ซึ่งผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก

อ่านบทความนี้ต่อ

Orchid information

รองเท้านารีเหลือง กระบี่

รองเท้านารี เหลืองกระบี่นั้น จะมีดอกเดี่ยวกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร กลีบดอกรูปแถบ สีน้ำตาลอมเหลือง โคนกลับอาจมีจุด ขอบกลีบบิดเป็นคลื่น ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนกำมะหยี่ปกคลุม กลีบปากเป็นถุงลึกสีน้ำตาลอมเหลือง

อ่านบทความนี้ต่อ

Organic Vegie

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา

อ่านบทความนี้ต่อ