ไทยกับยุทธศาสตร์การค้าชายแดน

การค้าระหว่างประเทศของไทยนั้นมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ 3 ตลาดหลักของโลก อย่าง อเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการค้าระหว่างประเทศที่เป็นอีกประเภทหนึ่ง ที่นับได้ว่าเป็นการค้าดั้งเดิมของไทยและทำรายได้เข้าประเทศมาอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย 4 ประเทศอันได้แก่ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และพม่า ซึ่งการค้าขายกับประเทศเหล่านี้ นิยมเรียกกันในกลุ่มนักธุรกิจหรือพ่อค้าที่อยู่ในจังหวัดชายแดนที่มีพรมแดนเชื่อมต่อถึงกันว่า การค้าขายชายแดน Border Trade

ไทยมีมูลค่าการค้ากับประเทศแถบชายแดนไหนมากที่สุด

มูลค่าการค้าของไทยกับประเทศในแถบชายแดนไทยหรือประเทศเพื่อนบ้านนั้น จากสถิติของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นำเสนอมูลค่าการค้ารวมของไทยกับเพื่อนบ้านในปี 2554 ที่ผ่านมาพบว่าไทยมีมูลค่าการค้าชายแดนมากเกือบ 9 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีมูลค่าการค้าชายแดนอยู่ที่ 7 แสนกว่าล้านบาท

หากเปรียบเทียบการค้าชายแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศที่กล่าวมานั้น พบว่าในไตรมาสแรกของปี 2555 ไทยมีมูลค่าการค้ากับมาเลเซียสูงเกือบ 6 แสนล้านบาท รองลงมาคือ พม่า ลาว และกัมพูชา ด้วยมูลค่าการค้าลดหลั่นกันมา

ไทยกับยุทธศาสตร์การค้าชายแดนสินค้านำเข้า ส่งออกที่สำคัญของไทย คืออะไร

สินค้าส่งออกและนำเข้าในการค้าชายแดนนั้น ประเภทสินค้าส่งออกและนำเข้าที่มีมูลค่าสูงสุดคือ ยางพารา ที่ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซีย ส่วนน้ำมันดีเซล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งออกไปยังพม่า และลาวอยู่ในอันดับรองลงมา นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลทรายที่ส่งออกไปยังกัมพูชา และอุปกรณ์เครื่องจักรอื่นๆ ที่เป็นส่วนประกอบของรถชนิดต่างๆ สำหรับสินค้านำเข้าที่มาจากมาเลเซียส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องจักรไฟฟ้าในการโทรคมนาคมและการสื่อสาร ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

ส่วนก๊าซธรรมชาติจะถูกนำเข้ามามากจากพม่า นอกจากนี้ยังมีผักและของปรุงแต่งอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากทองแดง เศษกระดาษ ก็มีการนำเข้าจากลาว และกัมพูชาด้วยเช่นกัน

(ที่มา รวมจากสำนักงานความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ เม.ย.55)

แม้ว่าภาครัฐเอง จะให้ความสำคัญต่อการค้าชายแดน โดยบรรจุให้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) และภาคเอกชนคือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยกับประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างช้านาน

แต่ด้วยสภาพการณ์ของชายแดนไทย ที่ยังคงมีประเด็นเรื่องความมั่นคงและพื้นที่ทับซ้อน ทำให้การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในภาครัฐและภาคเอกชนในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จึงจะถือว่ามีประสิทธิภาพ

ไม่เช่นนั้นก็คงต้องขายกันตามมีตามเกิดกันต่อไป

How to

การทำ สวนผัก

การทำสวนผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรที่เว้นว่างจากการทำสวนไร่นาอย่างอื่นเช่น ปลูกข้าว ข้าวโพด หรือผลิตผลทางการเกษตรชนิดอื่น เพราะช่วงที่อยู่ในระหว่างการเติบโตของพืชเหล่านั้น รวมทั้งรอฟ้าฝนจากธรรมชาติ ก็จะเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากการงานทั้งหลาย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงต้องหารายได้เพิ่มจากหลายทางเพื่อเพียงพอต่อความเป็นอยู่

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

นับได้ว่า พืชสมุนไพร ถูกแฝงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมานานแล้ว เพราะทั้งอาหารที่บริโภคทุกวันนั้นมีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรแทบทั้งสิ้น ทั้งอร่อยและมีสรรพคุณช่วยในการบำบัดโรค รวมไปถึงการดื่มเพื่อดับกระหายคลายร้อน โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

เตรียมพร้อมกับ เกษตรพอเพียง

พลิกที่นาแบบเก่าๆ ปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรพอเพียง พบหนทางแก้จน ของคุณธงชัย บุญชู เกษตรกรชั้นดีจากศรีสะเกษ ในอดีตนั้นจากแปลงเกษตรผืนเล็กๆ ที่ถูกกั้นด้วยคันดินของอ่างเก็บน้ำบ้านโนนเปือย

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การปลูกหน่อไม้ฝรั่ง ในแบบเกษตรอินทรีย์

พันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกษตรกรใช้ในการปลูกมีหลายสารพันธุ์เช่น แม่รี่วอชิงตัน (Marywashington) , แคลิฟอร์เนีย 500 (Califormia 500) ,

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การทำนาในฤดูหนาว แบบเกษตรพอเพียง

การทำนาในฤดูหนาว โดยปกติแล้วการทำนาในฤดูกาลไหน ๆ มักจะเหมือนกันหมด เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรทั่วไปใช้สารเร่ง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

แนะวิธีการทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ การแก้ปัญหาดินปลูกพืชไม่ได้

หากที่ไหนมีดินอุดมสมบูรณ์ ก็ปลูกพืชได้ แต่หากพื้นที่ไหนมีปัญหา จำเป็นต้องจัดการเรื่องดินก่อน เพราะการทำเกษตร ไม่ใช่แค่การปลูกผัก

อ่านบทความนี้ต่อ