โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

ด้วยการใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเล ผ่านกระบวนการของแผ่นกรองพิเศษและการขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำแปลงออกมาเป็นพลังงาน

โดยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมนี้เป็นหนึ่งในการทดลองโครงการพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่ได้ ที่คาดว่าจะอยู่ในข้อตกลงลดโลกร้อนในการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กในเดือนหน้า และเชื่อว่าจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อช่วยพัฒนาเทคโน โลยีและลดต้นทุนในการผลิต

โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมต้นแบบเป็นของสแตทคาร์ฟต์บริษัทสาธารณูปโภคที่รัฐบาลนอร์เวย์เป็นเจ้าของ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าในแต่ละครั้งได้ปริมาณ 2-4 กิโลวัตต์ หรือเพียงพอต่อ การเปิดเครื่องต้มกาแฟได้เท่านั้น ทำให้ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป สำหรับโครงการผลิต กระแสไฟฟ้าด้วยระบบความดันออสโมซิส

ซึ่งใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเลเป็นวัตถุดิบเครื่องแรกของโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานยั่งยืนทางเลือกตามข้อตกลงความร่วมมือการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชี้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจึงเป็นโครงการที่ควรสนับสนุนต่อไป

ขณะที่ บาร์ด มิคเคลสัน ซีอีโอของสแตทคาร์ฟต์ บอกว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะได้รับความสนใจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานพลังงานที่นำไปใช้ใหม่ได้ใน อนาคต และสแตทคาร์ฟต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่รายใหญ่ของยุโรป

มีความเชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดในนอร์เวย์มีเป้าหมายที่จะเริ่มสร้างโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมเชิงพาณิชย์ในปี 2558

ประเด็นหลักคือการปรับปรุงประสิทธิภาพของแผ่นกรองจากประมาณ 1 วัตต์ต่อตารางเมตรให้เป็น 5 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งสแตทคาร์ฟต์ระบุว่า จะเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่โรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่อื่น ๆ

การพัฒนาแผ่นกรองดังกล่าว ทาง บริษัทสแตทคาร์ฟต์ ร่วมมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่ให้ความสนใจในแผ่นกรองที่มีเทคโนโลยีสูงสำหรับการรีไซเคิล หรือการนำน้ำที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไว้สำหรับมนุษย์อวกาศ

ไมเคิล ฟลินน์ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีรีไซเคิลน้ำล้ำยุคของนาซา กล่าวว่า ทางนาซาให้ความสนใจในแผ่นกรองของโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพบนห้วงอวกาศในอนาคต

ทั้งนี้ สแตทคาร์ฟต์ระบุ ว่าได้เริ่มการวิจัยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมมา ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 ตอนนั้น ประสิทธิภาพของแผ่นกรองยังอยู่ที่ราว 0.01 วัตต์ ต่อตารางเมตร และเทคโนโลยี ล่าสุดได้พัฒนาขึ้นเป็น 2-3 วัตต์แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้านี้จะเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายหลังมีการตรวจ สอบระบบแล้ว

ในอนาคตโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอล และมีแผ่นกรองขนาดใหญ่ถึง 5 ล้านตารางเมตร จนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 25 เมกะวัตต์ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 30,000 ครัวเรือนในยุโรป และเมื่อถึงเวลานั้นโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม จะต้องใช้น้ำจืดถึง 25 ลูกบาศก์เมตรกับ น้ำทะเล 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

แต่ที่สำคัญการประชุมที่กรุงโคเปน เฮเกนจะต้องมีข้อตกลงกันเสียก่อน รวม ทั้งนานาชาติต้องเห็นด้วยที่จะให้เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมสามารถเข้าถึงประเทศยากจน

ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์

Best Infomal

เกษตรฯ ไฟเขียวเปิดตลาดสินค้าเกษตร 9 ชนิด

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตร รวม 9 ชนิด ในช่วงปี 2555-2557ได้แก่ เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป พริกไทย ลำไยแห้ง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีเลี้ยงปลาดุกให้เป็นปลาที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม

หากการเลี้ยงปลาดุก จะทำให้มีรายได้เพิ่ม ควรเริ่มเลยวันนี้

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

แนวทาง เกษตรผสมผสานตามรอยพ่อ

ระบบเกษตรผสมผสาน และระบบไร่นาสวนผสม นั้นมีความหมายใกล้เคียงกัน โดยที่ ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

การเพาะเห็ดนางฟ้า ให้ได้ผลผลิตดี

การเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความชำนาญในหลายด้าน และระบบการผลิตที่ไม่ได้มาง่าย ๆ เพราะต้องใช้ถึง 4 ขั้นตอนแยกได้ 4 ขั้นตอน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

ควบคุมและดับกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่

กลิ่นแอมโมเนีย ถือเป็นกลิ่นที่มีความฉุนมาก เป็นกลุ่มก๊าซที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยสัตว์ที่สัมผัสแอมโมเนียอยู่เสมอจะเกิดอาการแพ้

อ่านบทความนี้ต่อ