นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์มีมติเห็นชอบการเปิดตลาดสินค้าเกษตร รวม 9 ชนิด ในช่วงปี 2555-2557ได้แก่ เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป พริกไทย ลำไยแห้ง และชา ตามข้อผูกพัน WTO และตามความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ในช่วงปี 2555-2557 รวมถึงกระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่งตามข้อผูกพัน WTO ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียและความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ครอบคลุมถึงปริมาณ อัตราภาษีในโควต้า และอัตราภาษีนอกโควต้ารวมถึงการบริหารการนำเข้า
การศึกษาปัญหาการตลาดสินค้าเกษตร
ตลาดสินค้าเกษตรมักมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาเกษตรกรถูกกดราคาขายผลผลิต ปัญหาสิค้าล้นตลาดจนราคาตกต่ำ ปัญหาค่าใช้จ่ายการตลาด ได้แก่ ค่าขนส่งสูงมาก เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่ายและเป็นบุคคลจำนวนมาก ได้แก่ ผู้ผลิตและผู้บริโภคสินค้าเกษตรและผู้บริการของภาครัฐ ผลกระทบของปัญหาจะส่งผลไปถึงทั้งระบบเศรษฐกิจตลอดจนกระทบไปถึงการเมืองของประเทศ จึงจะสามารถเสนอแนวทางในการแก้ไขได้อย่างถูกต้องและลำดับความสำคัญในการแก้ไขปัญหาได้อย่าง เหมาะสม โดยวิธีการศึกษาถึงปัญหาทางการตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญมีอยู่ 4 แนวทาง ดังนี้
1. การศึกษาถึงหน้าที่การตลาด (functionnal approach) โดยพิจารณาถึงหน้าที่ทางการตลาดว่ามีอะไรบ้าง หน้าที่แต่ละหน้าที่ทำอย่างไร ที่ทำอยู่ตลาดทำได้ดีเพียงใด มีปัญหาหรืออุปสรรคใดในการดำเนินการ โดยหน้าที่การตลาดทั้งหมด แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่
- หน้าที่ในการแลกเปลี่ยน ได้แก่ การซื้อและการขายสินค้า
- หน้าที่ทางกายภาพ ได้แก่ การแปรรูป การเก็บรักษา และการขนส่ง
- หน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ได้แก่ การกำหนดมาตราฐานสินค้า การให้ข้อมูลข่าวสาร การทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน และการรับภาระการเสี่ยงภัย
ผู้ที่ศึกษาปัญหาการตลาด ต้องศึกษาถึงข้อเท็จจริงของการทำหน้าที่ทางการตลาดทั้ง 3 ประเภทและพิจารณาถึงการทำหน้าที่นั้น ๆ ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ หากพบว่าข้อเท็จจริงการทำหน้าที่ต่าง ๆ มิได้เป็นไปหรือมิได้กระทำตามที่สมควร ก็ศึกษาต่อไปว่าเพราะเหตุใดมีสิ่งใดเป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรค หรือหากพบว่าตลาดไม่ได้ทำหน้าที่ใดทั้ง ๆ ที่ควรจะกระทำ ก็ศึกษาต่อไปว่าเพราะเหตุใด เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
2. การศึกษาในแง่ของสถาบัน (institutional approach) การศึกษาตามแนวทางนี้จะยึดเอาสถาบันในตลาด คือ องค์กรหรือบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่ทางการตลาด เป็นหลัก ซึ่งก็คือ คนกลางในตลาดที่แบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่
- พ่อค้า ซึ่งทำหน้าที่ซื้อขายสินค้าในตลาดระดับต่าง ๆ ได้แก่ พ่อค้าในท้องถิ่น พ่อค้าระดับอำเภอหรือจังหวัด พ่อค้าขายส่งในตลาดปลายทาง และพ่อค้าขายปลีก
- ตัวแทน ซึ่งทำหน้าทีในการเจรจาติดต่อ ซื้อขายให้กับพ่อค้าหรือผู้บริโภค เช่น หยงที่เป็นตัวแทนในการเจรจาขายข้าวระหว่างโรงสีในต่างจังหวัดกับพ่อค้าขายส่งและพ่อค้าส่งออกในกรุงเทพฯ
- ผู้ให้บริการ ได้แก่ คนกลางที่ทำหน้าที่ให้บริการทางด้านการตลาดต่าง ๆ เช่น ธุรกิจขนส่ง
- พ่อค้าเก็งกำไร ซึ่งเป็นคนกลางที่ทำการซื้อขายสินค้าโดยที่มุ่งหวังผลตอบแทน จากการเปลี่ยนแปลงของราคาเป็นสำคัญ
- สถาบันหรือองค์กร ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการตลาด เช่น สมาคมการค้าต่าง ๆ สหกรณ์การเกษตรและตลาดกลางสินค้า
โดยศึกษาว่าคนกลางต่าง ๆ ที่อยู่ในตลาดนั้นเป็นใคร แต่ละคนกลางทำหน้าที่การตลาดอะไรบ้าง และทำหน้าที่เหล่านั้นอย่างไร ทำได้ดีเพียงไร มีคนกลางใดที่ไม่จำเป็นซึ่งหากตัดออกจากวิถีการตลาดแล้ว จะช่วยลดต้ยทุนทางการตลาดลงได้หรือไม่ หรือการทำหน้าที่ทางการตลาดของคนกลางต่าง ๆ มีปัญหาหรืออุปสรรคใดหรือไม่ จะได้เข้าใจและหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง
3. การศึกษาตามลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาด การศึกษาตามลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรมของตลาด เป็นการศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้นมีโครงสร้างของตลาดเป็นตลาดประเภทใด ซึ่งตามหลักทางเศรษฐศาสตร์ตลาดของสินค้าและบริการ แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผูกขาด ตลาดผู้ขายน้อยราย และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ซึ่งแต่ละตลาดจะมีความแตกต่างกันไปในประเด็น ดังนี้
- จำนวนและขนาดของผู้ซื้อและผู้ขาย
- ลักษณะของสินค้า
- การเข้าและออกจากตลาดของธุรกิจ
- ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดของสินค้านั้น
การศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้น มีโครงสร้างตลาดประเภทใดโดยพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ข้างต้นจะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในด้านการกำหนดราคา ปริมาณและคุณภาพของสินค้า ตลอดจนประสิทธิภาพทางการตลาด การศึกษาว่าสินค้าเกษตรนั้น มีโครงสร้างตลาดประเภทใดโดยพิจารณาจากประเด็นต่าง ๆ ข้างต้น จะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในด้านการกำหนดราคา ปริมาณและคุณภาพของสินค้า ตลอดจนประสิทธิภาพทางการตลาด ซึ่งหากพบว่าโครงสร้างมีลักษณะคล้ายคลึงกับตลาดผูกขาดมากกว่าตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ก็คาดได้ว่าประสิทธิภาพทางการตลาดจะต่ำ ส่วนเหลื่อมทางการตลาดจะสูงกว่าที่ควรจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรจะเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และเกิดความไม่เป็นธรรมในสังคม
4. การศึกษาตลาดสินค้าเฉพาะอย่าง (commodity approach) แนวทางการศึกษาโดยวิธีนี้ เป็นวิธีที่ใช้แพร่หลายกันทั่วไป โดยการศึกษาอาจกระทำได้ ใน2 ลักษณะ ได้แก่
- การศึกษาที่เน้นเฉพาะสินค้าแต่ละชนิด เช่น การศึกษาปัญหาทางการตลาดของข้าว ข้าวโพด ไก่เนื้อ
- การศึกษาที่เน้นเป็นกลุ่มสินค้า เช่น การศึกษาปัญหาตลาดพืชไร่ ผัก ผลไม้ และปศุสัตว์
โดยศึกษาว่าเมื่อสินค้าออกจากผู้ผลิตแล้ว ผ่านคนกลางและสถาบันทางการตลาดใดบ้างเป็นปริมาณหรือสัดส่วนเท่าใด คนกลางหรือสถาบันนั้นทำหน้าที่ทางการตลาดใดบ้าง ทำอย่างไร มีค่าใช้จ่ายมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับการทำหน้าที่นั้นหรือไม่อย่างไร โครงสร้างและพฤติกรรมทางการตลาดเป็นอย่างไร นอกจากนี้การศึกษายังครอบคลุมไปถึง เรื่องของอุปสงค์ อุปทาน ตลอดจนราคาของสินค้าชนิดนั้นด้วย
อ้างอิง idis.ru.ac.th
How to
ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อสร้างรายได้
แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์รูปแบบใหม่ หากอยากได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรทำแบบมั่ว และไร้ทิศทาง
อ่านบทความนี้ต่อHow to
ควบคุมและดับกลิ่นแอมโมเนียในเล้าไก่
กลิ่นแอมโมเนีย ถือเป็นกลิ่นที่มีความฉุนมาก เป็นกลุ่มก๊าซที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โดยสัตว์ที่สัมผัสแอมโมเนียอยู่เสมอจะเกิดอาการแพ้
อ่านบทความนี้ต่อOrganic Vegie
ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ
ไม่รู้เหมือนกันว่า หลายๆ คนจะเคยสังเกตไหม เวลาที่จะเลือกซื้อผักและผลไม้ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า
อ่านบทความนี้ต่อAgricultural articles
Organic molecules always contain
organic chemistry continued with the discovery of petroleum and its separation into fractions according to
อ่านบทความนี้ต่อOrchid information
หอมกลิ่น กล้วยไม้ป่า ชีวิตกับกล้วยไม้
วงการกล้วยไม้ทุกคนยกย่องให้ “ศ.ระพี สาคริก” เป็นบิดาแห่งกล้วยไม้ไทย หรืออาจจะเรียกว่าเป็นราชาแห่งกล้วยไม้ไทยก็สุดแล้วแต่ ทว่าผู้บุกเบิกวิชาการกล้วยไม้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อวงการกล้วยไม้ไทยผู้นี้ กลับไม่ยินดีแม้สักนิดกับคำกล่าวยกย่องเหล่านั้น
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การปลูกผักอินทรีย์
ปัจจัยสำคัญของการปลูกผักอินทรีย์ นั้น คือเรื่องของ ปุ๋ย ดิน น้ำ อากาศ อุณหภูมิและแสงแดด โรคและศัตรูพืช และพันธุ์พืช โดยเราจะให้ความสำคัญของปุ๋ยอินทรีย์มาเป็นอันดับแรก ปัญหาของเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านมาก็คือเรื่องปุ๋ย ธาตุอาหารพืช เพราะในปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารพืชน้อย
อ่านบทความนี้ต่อ