อันตรายจากสารกันชื้นในอาหาร

ในปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีทางด้านอาหารมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถยืดอายุในการเก็บรักษาอาหาร เอาไว้รับประทานไปได้อีกนานกว่าที่เคย

โดยเฉพาะขนมต่าง ๆ สามารถที่จะนำมาวางขายและเก็บไว้ได้นาน จนทำให้แทบไม่เหลือต้นทุนในการเก็บรักษามากนัก แถมเวลารับประทานก็ยังเหมือนทำมาใหม่สด ๆ แกะกล่องกันเลยทีเดียว

แล้วเราทราบกันไหมว่า ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น มาจาก สารกันชื้น ที่ใส่อยู่ในซองพลาสติกเล็ก ๆ ที่แนบมากับอาหารแห้ง ซึ่งดูคล้าย ๆ กับเม็ดพลาสติกธรรมดา ๆ ที่รู้จักกันในชื่อ สารดูดความชื้น หรือสารกันความชื้น ที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า Desiccant และ Oxygen Absorber หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สารดูดซับออกซิเจน”

โดยสารที่ใส่ลงไปในห่ออาหารนี้ มีจุดประสงค์ก็เพื่อ ช่วยดูดและกักเก็บน้ำจากอาหาร และควบคุมความชื้นในห่ออาหาร ให้อยู่ในระดับที่ จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้น้อย หรือไม่สามารถเติบโตได้เลย ทำให้อาหารไม่เน่าเสีย เหม็นหืน และขึ้นรา ช้าลง มีผลทำให้เก็บได้นานขึ้น หมดอายุช้าลง คงคุณภาพความกรอบได้นานยิ่งขึ้น

สารกันชื้นหลากหลายชนิด ส่วนใหญ่คือตัวเดียวกัน

สารที่นิยมนำมาใช้ในการเก็บ และดูดความชื้น อย่าง ซิลิกาเจล Silica Gel หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซิลิกอนไดออกไซด์ Silicon Dioxide เป็นเม็ดสีขาวกลมเล็ก ๆ ในซองพลาสติก บางครั้งเราก็เห็นมันถูกจับใส่อยู่ในกระเป๋ากล้อง กล่องรองเท้า แต่เชื่อเถอะว่า มันเป็นชนิดเดียวกัน

สารกันชื้นที่ผลิตขึ้นนี้ ได้จากทรายขาว Silica ผสมกรดกำมะถัน ที่มีลักษระเป็นเม็ดกลมแข็ง ถ้าเรานำซิลิกาเจลนี้มาส่องขยายดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นรูพรุนเล็ก ๆ เต็มไปหมดบนพื้นผิว รูพรุนเหล่านี้เป็นลักษณะของเม็ดทรายทั่วไป เมื่อรวมกับกรดกำมะถันที่มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดี จึงทำให้ซิลิกาเจล สามารถดูดน้ำไปเก็บกักไว้ในรูพรุนของมันได้มากถึง 35-40% ของน้ำหนักมันเอง พูดง่าย ๆ คือ ถ้าเราเทน้ำ 40 มิลลิลิตร หรือ 8 ช้อนชา ลงบนซิลิกาเจล ที่มีน้ำหนัก 1 ขีด น้ำจะถูกดูดเข้าไปทั้งหมด จนแห้งเหือด

อันตรายจากสารกันชื้นในอาหาร

ซิลิก้าเจล

ส่วนใหญ่จะมาในรูปเม็ดเล็ก ๆ แข็ง แต่มีบ้างที่มีการทำเป็นเม็ดใหญ่ ๆ แต่คุณสมบัติที่จะดูดน้ำได้ดีที่สุด จะอยู่ในรูปของ ผงซิลิกาละเอียด คล้ายทรายสีขาว จะสามารถดูดน้ำได้เร็ว และดีกว่า เพราะมีพื้นผิวสัมผัสมากกว่าแบบอื่น

ซิลิกาเจลสีน้ำเงิน

จะถูกเคลือบด้วย สารโคลอลต์คลอไรด์ Cobalt Chloride หากมีการดูดน้ำจนเต็ม จะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพู ทำให้รู้ว่าถูกใช้ไปแล้ว แต่จะทำให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้ ก็โดยการอบให้แห้ง เพื่อขจัดน้ำออกไป

ซิลิกาเจลสีน้ำเงิน

ซิลิกาสีน้ำเงินนี้ ไม่สามารถใช้กับอาหารได้ เพราะสารโคบอลต์คลอไรด์ที่เป็นสารเคลือบนี้ เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง และแม้ว่าสารกันชื้นจะมีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ แต่มันก็ทำได้แค่การดูดความชื้นได้ ถึงระดับความชื้นสัมพัทธ์ 40-45% เท่านั้น และจะคายน้ำที่เก็บไว้ออกทันที หากความชื้นสัมพัทธ์ในหีบห่อต่ำกว่า 40-45% ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาระดับความชื้นในห่อเอาไว้ (ในประเทศไทยพื้นที่ทั่วไป ความชื้นสัมพัทธ์จัดอยู่ในระดับ 80-80%)

อันตรายจากสารกันชื้นที่มีอยู่ในหีบห่ออาหาร

โดยปกติแล้วสารกันชื้นที่บรรจุซองเล็ก ๆ แทรกไว้ติดกับหีบห่ออาหาร ในภาชนะบรรจุเดียวกับอาหาร ที่คุณทานเข้าไปนั้น จะมีข้อดี ที่สารเหล่านั้นจะช่วยดูดซับความชื้น และออกซิเจนในบรรจุภัณฑ์ ทำให้อาหารคงอายุอยู่ได้นานหลายเท่า และมีความสดใหม่

แต่สารเหล่านั้นก็เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทั้งจากการสัมผัสและการกิน ตามกฏหมายอาหารแล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการผสมลงไปในอาหารโดยตรงเด็ดขาด แต่จะให้แยกใส่ซองเล็ก ๆ ไว้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท หรือให้ผสมลงในเนื้อพลาสติก ที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารได้

รู้หรือไม่ว่า ขวดน้ำมันพืช มีการผสมสารซิลิกาเจล หรือสารดูดความชื้น เป็นส่วนผสมในเม็ดพลาสติกที่ใช้ทำขวด เพื่อจุดประสงคือป้องกันไม่ให้ออกซิเจนสัมผัสกับน้ำมันพืช เพราะจะทำให้มีกลิ่นเหม็นหืน

ฉะนั้นแล้ว เมื่อมีการซื้ออาหาร หรือสินค้าที่เอาไว้รับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มี ซองสารกันชื้น บรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารด้วย ควรตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ หรือซองที่ใช้บรรจุสารกันชื้นให้ดีว่า มีชำรุดเสียหาย ปิดสนิทหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้น หากอาหารมีการสัมผัสสารกันชื้นที่หลุดรอดออกมา อาหารเหล่านั้นก็จะกลายเป็นยาพิษดี ๆ นี่เอง

Best Infomal

BIO กระแสรักษ์โลก กับผลิตภัณฑ์จากชานอ้อย

จับกระแสสิ่งแวดล้อมกับภาชนะที่ทำจากโฟมเสียหน่อย เพราะไอเดียอย่าง Eco-Friendly มีการตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมกำลังมาแรง

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีเลี้ยงปลาดุกให้เป็นปลาที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม

หากการเลี้ยงปลาดุก จะทำให้มีรายได้เพิ่ม ควรเริ่มเลยวันนี้

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พอเพียง หรือ อุตสาหกรรม ในระบบเกษตร

หากว่าจะย้อนกลับไปถึงความเป็นไปในยุคฟองสบู่แตกตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ภาคการเกษตรในประเทศไทยเป็นภาคเดียวที่ถือได้ว่า เป็นภาคธุรกิจและการค้าที่มองดูโดยรวมแล้วไม่มีผลกระทบกับปัญหามากเท่าไหร่นัก

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าวอินทรีย์ในแบบ ข้าวคุณธรรม

จากอดีตนั้นเกษตรกรที่ทำนาปลูกข้าวส่วนใหญ่ทำตามบรรพบุรุษสั่งสอนกันมา ได้ผลผลิตมากบ้างน้อยบ้างเป็นเรื่องธรรมดา

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

เลือกปลูกผักหน้าฝน อย่างฉลาด

ปลูกผักหน้าฝน หลายครั้งหลายหน ใครๆ ก็คิดแต่ว่า หน้าฝนนั้นปลูกอะไรก็ขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลารดน้ำผัก ไม่เปลืองน้ำ แถมดินก็ชุ่มฉ่ำ ไม่ร้อน

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีปลูกบอนกระดาด ที่ไม่ใช่กระดาษ

บอนกระดาด ใช้ ด.เด็กสะกด เพราะแปลว่า คือพืชชนิดหนึ่งที่เป็นหัวหรือเหง้า ที่อยู่ในดิน

อ่านบทความนี้ต่อ