ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ

ไม่รู้เหมือนกันว่า หลายๆ คนจะเคยสังเกตไหม เวลาที่จะเลือกซื้อผักและผลไม้ต่างๆ ตามห้างสรรพสินค้า

จะพบเห็นสติ๊กเกอร์ของสินค้าที่บ่งบอกถึงการผลิตอย่างปลอดภัยจากสารพิษ เช่นระบุว่า เกษตรอินทรีย์ ผักไร้สารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ซึ่งคงเข้าใจว่าเป็นผักที่รับประกันด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค

แต่ไม่ทราบว่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันในกระบวนการเพาะปลูกอย่างไร ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค จึงควรรู้จักและเข้าใจถึงความแตกต่างของผักดังกล่าว เพื่อที่จะได้เลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง

เกษตรอินทรีย์ คือ การเกษตรที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศน์การเกษตรได้ก่อให้เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อนุรักษ์และปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยใช้หลักการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ และทำให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนเน้นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หรือสรุปก็คือ ห้ามใช้พืชหรือสัตว์ที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความสมดุลทางธรรมชาติด้วย โดยมีมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

ผักไร้สารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีเพื่อป้องกันและปราบศัตรูพืช หรือปุ๋ยเคมีทุกชนิด แต่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดและผลผลิตที่เก็บเกี่ยวแล้วต้องไม่มีพิษใด ๆ ทั้งสิ้น

ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๑๖๓ พ.ศ. ๒๕๓๘

ผักอนามัย คือ ผักที่ระบบการผลิตมีการใช้สารเคมีในการป้องกันและปราบศัตรูพืช รวมทั้งปุ๋ยเคมีเพื่อการเจริญเติบโต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ยังมีสารพิษตกค้างไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความสะอาดผ่านกรรมวิธีการปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งและการบรรจุหีบห่อตามมาตรฐาน ซึ่งผักอนามัยจะมีการผลิตเหมือนกับผักปลอดภัยจากสารพิษ แต่จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมวิชาการเกษตร

ผักแบบไหนที่เรียกว่า ปลอดสารพิษ

จะเห็นได้ว่า จากข้อแตกต่างของสินค้าเกษตรที่กล่าวมาข้างต้นนี้ คงจะทำให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัยได้จริงๆ

ที่มา: สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

Best Infomal

The Advantages and Disadvantages of Organic Farming

Explore the advantages and drawbacks of organic farming a sustainable and environmentally-friendly approach that brings

อ่านบทความนี้ต่อ

How to

วิธีเลี้ยงปลาดุกให้เป็นปลาที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม

หากการเลี้ยงปลาดุก จะทำให้มีรายได้เพิ่ม ควรเริ่มเลยวันนี้

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

โครงการปลูกพืชผักสวนคนเมือง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันอาทิตย์ ที่ 25 พ.ย.55 นี้ จัดงานเกษตร พบกับโครงการรู้แจ้งวิกฤตปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหาร วิถีการต้านวิกฤต สร้างสุขภาวะ โดยการพึ่งพิงตนเองด้วยสวนผักคนเมือง พบผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผักสวนครัว และนิทรรศการ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

โรงไฟฟ้าไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การเลี้ยงหมูหลุมต้นทุนต่ำ

ปัจจุบัน การเลี้ยงหมู นั้นนับว่ามีความเสี่ยงสูง เนื่องจากวิธีการเลี้ยงในแบบปกติ เปลี่ยนแปลงไปเป็นลักษณะเชิงการค้าค่อนข้างมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการที่ต้องซื้ออาหารสำเร็จ

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

พืชผักจากการทำเกษตรปลอดสารพิษ ปลอดภัย จริงหรือไม่

หากใครไม่มีโรค จะได้ลาภอันประเสริฐ เป็นคำอมตะอย่างแน่แท้ทีเดียวที่ยังใช้ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ว่าวันนี้เราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

อ่านบทความนี้ต่อ