ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

ขึ้นชื่อว่าเป็นการปลูกผัก หลายๆ คนก็นึกไปถึงการนำกล้าผักหรือเมล็ดพันธุ์ผักไปฝังลงดิน เพื่อให้เกิดการงอก แต่การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ นั้น แตกต่างกันออกไปจากการปลูกแบบปกติที่ส่วนของการดูแลและบำรุงรักษา โดยผักปลอดสารพิษที่อำเภอวังน้ำเขียว

แม้ว่าจะสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และได้เปรียบคู่แข่งทางภาคเหนือหลายประการ เช่น ในช่วงฤดูฝน ได้เปรียบในด้านพื้นที่เพราะภาคเหนือพื้นที่เป็นภูเขาสูง และทางซับซ้อน แต่เมื่อฝนตกทำให้ถนนลื่น จึงทำให้มีปัญหาในการขนส่ง บางครั้งขนส่งผักลงจากดอยไม่ได้

อำเภอวังน้ำเขียวมีการคมนาคมที่สะดวก สามารถขนส่งได้เร็วกว่าและไม่มีปัญหาในการข่นส่ง อีกทั้งยังอยู่ใกล้แหล่งตลาดที่สำคัญ ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในกรุงเทพฯ ทำให้ผักถึงมือผู้บริโภคแบบสดๆ และสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 อาทิตย์ และรสชาติยังไม่เปลี่ยนอีกด้วย และในการปลูกผักในหน้าหนาวผักมีขนาดใหญ่เกินไป ซึ่งมีผลต่อการจำหน่ายเนื่องจากลูกค้าปฏิเสธผักที่มีน้ำหนักมากเกินไป จึงต้องมีการตัดบางส่วนทิ้งไปเพื่อให้ได้น้ำหนักที่เหมาะสม แต่ในการปลูกผักหน้าหนาวสามารถปลูกระยะชิดเพื่อให้ผักมีขนาดเล็กลง จะได้น้ำหนักที่เหมาะสมตามที่ตลาดต้องการ

ปัจจุบันนี้รัฐบาลได้ส่งเสริมการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อการส่งออกมากขึ้น และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากได้ตระหนักถึงปัญหาสารตกค้างในพืชผัก จึงหันมาบริโภคผักปลอดสารพิษมากขึ้น

ผักปลอดสารพิษส่วนใหญ่ที่นิยมปลูกัน

ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ผักสลัดที่ใช้ปลูกมี 6 สายพันธุ์ ได้แก่ กรีนโอ๊ค, เรดโอ๊ค, เรดลีฟ, บัตเตอร์เฮด, คอส และ สลัดแก้ว ซึ่งทั้ง 6 สายพันธุ์นี้มีการปรับตัวในพื้นที่ดีมาก และ พันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีที่สุดคือ สลัดแก้ว พันธุ์ที่เลือกนี้ตรงกับตามความต้องการของตลาด พันธุ์ที่ตลาดต้องการมากที่สุดได้แก่พันธุ์สลัดแก้ว และ คอส โดยจะทำการสั่งเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสม มาจากอเมริกา กิโลกรัมละ 40,000 บาท มีประมาณ 300,000 เมล็ด ในการสั่งแต่ละครั้งเกษตรกรจะรวมกลุ่มกัน และสั่งโดยตรงจากบริษัทเมล็ดพันธุ์

สำหรับวัสดุปลูกก็หาได้ง่าย ประกอบไปด้วย แกลบเผา 3 ส่วน ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก(โบกาฉิ) 1 ส่วน และกระบะเพาะกล้าผัก ขนาด 6×17 ช่องจะเพาะได้ประมาณ 108 ต้น หรือกระบะโฟมจะเพาะได้ 90 ต้น เมล็ดพันธุ์ผักที่เพาะได้มีความงอกประมาณ 80 %

วิธีการเพาะกล้าผักปลอดสารพิษ

  • นำวัสดุเพาะมาผสมกัน และนำใส่กระบะเพาะ
  • ใช้ไม้จิ้มกลางหลุมของวัสดุเพาะนำเมล็ดผักหยอดลงในหลุมกระบะ เพาะหลุมละ 1 เมล็ดแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะบางๆ
  • นำกระบะเพาะวางไว้ในร่มรำไร หรือในโรงเรือนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 2 ครั้ง เวลา 7.00 – 8.00 น. และ 15.00 -16.00 น.
  • เมล็ดผักจะงอกหลังหยอดเมล็ด 3-5 วัน หลังจากผักมีใบ 3-5 ใบ หรือ มีอายุประมาณ 20 วัน ให้ย้ายกล้าปลูกลงในแปลง

ปลูกผักปลอดสารพิษ อย่างถูกวิธี

การเตรียมแปลงปลูก

  • ตรวจสภาพของดินวัดความเป็นกรด – ด่างของดิน ซึ่งระดับที่เหมาะสมคือ 6 – 6.5
  • ไถดะปรับพื้นที่ให้เรียบและโปร่ง จากนั้นให้ไถซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้ดินละเอียดขึ้น
  • ตากดินไว้ 7 วัน เพื่อกำจัดโรคพืชและแมลง
  • ขุด,ถอน,และกำจัดพืชที่ไม่ต้องการออก
  • หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน 100 – 200 กก./ไร่
  • ยกแปลงขนาด 1.20 x 40 เมตร ยกร่องสูง 50 เซนติเมตร
  • หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1-2 ตัน/ไร่เพื่อเพื่อความร่วนซุยและไถพรวนอีกครั้งหนึ่ง
  • ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกผัก อัตรา 50 กก./ไร่
  • คลุมด้วยฟางข้าวแห้งเพื่อรักษาความชื้น 1 แปลงใช้ประมาณ 3 ก้อน
  • พื้นที่ 1 ไร่ ทำแปลงขนาด 1.2 x 40 เมตร ได้ 20 – 25 แปลง

การดูแลแปลงผักปลอดสารพิษ หลังจากมีการรดน้ำแปลงผักที่เตรียมไว้แล้วให้ชุ่ม และย้ายกล้าผักมาปลูกในที่เตรียมไว้แล้วก็รอให้ผักอยู่รอดซักระยะ ระหว่างนี้ต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี

การให้น้ำผักปลอดสารพิษ ไม่แนะนำให้ใช้ระบบฝนเทียมแต่จะใช้แรงงานคนเดินฉีดสายยางตามแปลงเพราะน้ำจากสายยางจะสามารถชะล้างไข่ของแมลงศัตรูพืชที่ติดอยู่ที่ใบลงดินได้ จากนั้นจุลินทรีย์ในดินก็ย่อยกินไข่แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ นอกจากนี้ผู้ปลูกจะได้ถือโอกาสตรวจแปลงไปในตัวหากมีความผิดปกติก็จะพบเห็นทันที โดยควรรดน้ำวันละ 1 ครั้ง เวลา 6.00 – 7.00 น. ในช่วงหน้าหนาวก่อนแดดออก เพราะจะช่วยชะล้างน้ำค้างตอนเช้า ซึ่งน้ำค้างมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำให้เกิดโรคราน้ำค้างได้ จะเน้นในช่วงหน้าหนาวและหน้ามรสุม ส่วนหน้าร้อนรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศร้อนมาก ให้รดน้ำตอนบ่าย เวลาประมาณ 14.00 น. เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในแปลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อต้นพืช และหน้าฝนถ้าฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ ถ้าฝนตกมากเกินไปจะทำให้ดินแน่นพืชจะขาดอากาศหายใจ จะต้องใช้ตะขอคุ้ยดินรอบต้นเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ

การให้ปุ๋ยผักปลอดสารพิษ ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำอินทรีย์ อัตรา 30-50 ซีซี.(3-5 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูก (ฉีดช่วงเช้าจะดีที่สุด)

โรคและแมลงของผักปลอดสารพิษส่วนใหญ๋จะไม่มีมาก เพราะการเสียหายจากโรคและแมลงทำลายไม่เกิน 10 % จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ เมื่อพบโรคและแมลงจะใช้แรงงานคนกำจัด โดยเด็ดใบหรือถอนต้นทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด

เท่านี้ก็จะได้ผักปลอดสารพิษมารับประทานและจำหน่ายในครัวเรือนได้แล้ว

Best Infomal

แนะนำการปรับปรุงดินให้สมบูรณ์ สำหรับทำเกษตร

การปรับปรุงดิน สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูก ถือเป็นหัวใจหลักเลยก็ว่าได้ หากดินไม่ดี ปลูกอะไรก็ยากจะงอกงาม

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่

การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย บางครั้ง การเดินตามรอยเท้าพ่อ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสำเร็จ

อ่านบทความนี้ต่อ

Agricultural articles

SANG YOD THE BEST THAI RICE GI

It is light-sensitive rice, rice grown in the rice field, harvested in August-February. In order

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

หมู่บ้านเกษตรกรรมยั่งยืน

จากคำพูดของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ซึ่งประธานกรรมการและประธานคณะบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า 300 น้อยไปควรจะเป็น 500 ได้กล่าวถึงค่าแรงขั้นต่ำพร้อมกับเน้นย้ำว่า จะได้ส่งผลช่วยเกษตรกรให้มีรายได้มากขึ้น ยามนี้เกษตรกรไทยยังมีฐานะยากจนอยู่ ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลและเส้นทางการเมืองไม่รู้จักและเข้าใจเกษตรกรอย่างแท้จริง

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่ใช้กับพืช

หลายคนคุ้นชินกับคำว่า จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ที่มีคุณสมบัติ เป็นฮอร์โมนเร่งโตให้กับพืช แต่รู้หรือไม่ว่า มีอะไรมากกว่านั้น

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

เกษตรแฟร์กาญจนบุรี 2013

วันที่ 19 ส.ค. ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุรี นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานการแถลงข่าวงาน เกษตรแฟร์กาญจนบุรี 2013 พร้อมด้วย นายบำรุง สังข์สว่าง เกษตรจังหวัดกาญจนบุรี

อ่านบทความนี้ต่อ