เมื่อไม่นานนี้รัฐบาลนอร์เวย์เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมแห่งแรกของโลก ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
ด้วยการใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเล ผ่านกระบวนการของแผ่นกรองพิเศษและการขับเคลื่อนด้วยกังหันไอน้ำแปลงออกมาเป็นพลังงาน
โดยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมนี้เป็นหนึ่งในการทดลองโครงการพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่ได้ ที่คาดว่าจะอยู่ในข้อตกลงลดโลกร้อนในการประชุมที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์กในเดือนหน้า และเชื่อว่าจะได้รับเงินทุนสนับสนุนเพื่อช่วยพัฒนาเทคโน โลยีและลดต้นทุนในการผลิต
โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมต้นแบบเป็นของสแตทคาร์ฟต์บริษัทสาธารณูปโภคที่รัฐบาลนอร์เวย์เป็นเจ้าของ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าในแต่ละครั้งได้ปริมาณ 2-4 กิโลวัตต์ หรือเพียงพอต่อ การเปิดเครื่องต้มกาแฟได้เท่านั้น ทำให้ทางบริษัทฯ จำเป็นต้องทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีต่อไป สำหรับโครงการผลิต กระแสไฟฟ้าด้วยระบบความดันออสโมซิส
ซึ่งใช้น้ำจืดผสมกับน้ำทะเลเป็นวัตถุดิบเครื่องแรกของโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพลังงานยั่งยืนทางเลือกตามข้อตกลงความร่วมมือการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ชี้ว่า พลังงานไฟฟ้าที่ได้เป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษจึงเป็นโครงการที่ควรสนับสนุนต่อไป
ขณะที่ บาร์ด มิคเคลสัน ซีอีโอของสแตทคาร์ฟต์ บอกว่า เขามีความเชื่อมั่นว่า โรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะได้รับความสนใจ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานพลังงานที่นำไปใช้ใหม่ได้ใน อนาคต และสแตทคาร์ฟต์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่รายใหญ่ของยุโรป
มีความเชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมดในนอร์เวย์มีเป้าหมายที่จะเริ่มสร้างโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมเชิงพาณิชย์ในปี 2558
ประเด็นหลักคือการปรับปรุงประสิทธิภาพของแผ่นกรองจากประมาณ 1 วัตต์ต่อตารางเมตรให้เป็น 5 วัตต์ต่อตารางเมตร ซึ่งสแตทคาร์ฟต์ระบุว่า จะเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่โรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานที่นำกลับไปใช้ใหม่อื่น ๆ
การพัฒนาแผ่นกรองดังกล่าว ทาง บริษัทสแตทคาร์ฟต์ ร่วมมือกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา) ที่ให้ความสนใจในแผ่นกรองที่มีเทคโนโลยีสูงสำหรับการรีไซเคิล หรือการนำน้ำที่ใช้แล้วผ่านกระบวนการกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อไว้สำหรับมนุษย์อวกาศ
ไมเคิล ฟลินน์ หัวหน้าหน่วยเทคโนโลยีรีไซเคิลน้ำล้ำยุคของนาซา กล่าวว่า ทางนาซาให้ความสนใจในแผ่นกรองของโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม เพื่อสนับสนุนการดำรงชีพบนห้วงอวกาศในอนาคต
ทั้งนี้ สแตทคาร์ฟต์ระบุ ว่าได้เริ่มการวิจัยโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมมา ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 ตอนนั้น ประสิทธิภาพของแผ่นกรองยังอยู่ที่ราว 0.01 วัตต์ ต่อตารางเมตร และเทคโนโลยี ล่าสุดได้พัฒนาขึ้นเป็น 2-3 วัตต์แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้านี้จะเปลี่ยนไปใช้วัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายหลังมีการตรวจ สอบระบบแล้ว
ในอนาคตโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมจะมีขนาดใหญ่เท่ากับสนามฟุตบอล และมีแผ่นกรองขนาดใหญ่ถึง 5 ล้านตารางเมตร จนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 25 เมกะวัตต์ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน 30,000 ครัวเรือนในยุโรป และเมื่อถึงเวลานั้นโรงไฟฟ้าพลังดูดซึม จะต้องใช้น้ำจืดถึง 25 ลูกบาศก์เมตรกับ น้ำทะเล 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
แต่ที่สำคัญการประชุมที่กรุงโคเปน เฮเกนจะต้องมีข้อตกลงกันเสียก่อน รวม ทั้งนานาชาติต้องเห็นด้วยที่จะให้เทคโนโลยีโรงไฟฟ้าพลังดูดซึมสามารถเข้าถึงประเทศยากจน
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
Best Infomal
หมู่บ้านเกษตรกรรมยั่งยืน
จากคำพูดของคุณธนินท์ เจียรวนนท์ ผู้ซึ่งประธานกรรมการและประธานคณะบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ บอกว่า 300 น้อยไปควรจะเป็น 500 ได้กล่าวถึงค่าแรงขั้นต่ำพร้อมกับเน้นย้ำว่า จะได้ส่งผลช่วยเกษตรกรให้มีรายได้มากขึ้น ยามนี้เกษตรกรไทยยังมีฐานะยากจนอยู่ ทั้งนี้ เพราะรัฐบาลและเส้นทางการเมืองไม่รู้จักและเข้าใจเกษตรกรอย่างแท้จริง
อ่านบทความนี้ต่อOrchid information
รองเท้านารีเหลือง กระบี่
รองเท้านารี เหลืองกระบี่นั้น จะมีดอกเดี่ยวกว้างประมาณ 6 เซนติเมตร กลีบดอกรูปแถบ สีน้ำตาลอมเหลือง โคนกลับอาจมีจุด ขอบกลีบบิดเป็นคลื่น ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีขนกำมะหยี่ปกคลุม กลีบปากเป็นถุงลึกสีน้ำตาลอมเหลือง
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
คุณค่าของข้าวไทย
ชาวนาถือเป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่แพ้อุตสาหกรรมด้านอื่น ชาวไทยควรเล็งเห็น คุณค่าของข้าวไทย
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ชุมชนคนรักษ์ป่า ที่บ้านแม่ตุงติง
ชุมชนรักษ์ป่าไม้บ้านแม่ตุงติง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ป่าอีกผืนที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ป่ารวม 4,970 ไร่
อ่านบทความนี้ต่อHow to
การออกแบบพื้นที่ 1 ไร่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
มีแปลงเกษตรบน พื้นที่ 1 ไร่ จะออกแบบอย่างไร ให้คุ้มค่าที่สุด มาดูบทความนี้ มีคำแนะนำที่ดี ในการสร้างพื้นที่เพียงไร่เดียวให้คุ้ม แถมยังทำรายได้สูงกว่าการเพาะปลูก
อ่านบทความนี้ต่อBest Infomal
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว
ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด
อ่านบทความนี้ต่อ