ผักไร้ดิน ไร้ปัญหาน้ำท่วม ลดการนำเข้า

ข้อมูลจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ระบุว่าปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตผักและผลไม้ของไทยเป็นวงกว้างทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยและสินค้ามีราคาแพงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันผักสดหลายชนิดเริ่มขาดแคลน และจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่มาจากจีน

ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจพืชทุกแห่ง ตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าสินค้าผักผลไม้สดอย่างเข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงศัตรูพืชกักกันเล็ดลอดเข้ามาแพร่ระบาดภายในประเทศ ทั้งยังช่วยปกป้องผู้บริโภคให้ได้รับสินค้าที่คุณภาพและมีความปลอดภัยด้วย

ด่านตรวจพืชเชียงของ ที่เชียงราย เป็นด่านที่มีการนำเข้าสินค้าเกษตรจากจีนค่อนข้างมากภายหลังไทย-จีนได้เปิดเส้นทางสาย R3a เพื่อใช้ลำเลียงขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกระหว่างทั้ง 2 ประเทศ แต่หลังจากเกิดวิกฤติปัญหาน้ำท่วม ปริมาณการนำเข้าสินค้าผักสดจากจีนลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากปกติที่มีการนำเข้าวันละกว่า 1,000 ชิปเมนต์ หรือประมาณ 300 ตัน/วัน ลดเหลือวันละ 20-30 ตันเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผักกินใบ อาทิ บรอกโคลี กะหล่ำดอก ถั่วหวาน และถั่วลันเตา ทั้งนี้ เนื่องจากเส้นทางขนส่งสินค้าไปยังตลาดไทซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าถูกน้ำท่วมตัดขาด ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความไม่มั่นใจ หากนำเข้ามาแล้วไม่มีแหล่งรองรับและกระจายสินค้า ถ้าเก็บไว้นานสินค้าอาจเน่าเสียได้

ปลูกผักไร้ดินกินเอง ไร้ปัญหาน้ำท่วม

แม้ว่าปัจจุบันนี้มีการปลูกพืชปลูกไร้ดินกันหลายแห่งในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งในอนาคตอาจจะสามารถปลูกข้าวไร้ที่นา ที่เมืองซาไก โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่นได้มีการปลูกพืชไร้ดินเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จึงขอนำความรู้จากการที่ได้ไปเยี่ยมชมมารายงานให้รับทราบกัน ซึ่งเรื่องราวของการปลูกผักปลูกพืชโดยไม่จำเป็นต้องใช้ดิน จนมีการเรียกขานกันว่าปลูกผักปลูกพืชกลางอากาศ ประชาชนคนไทยคงจะได้รับรู้กันมากพอสมควรแล้ว เพราะการปลูกผักปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่เสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมที่จะเข้าท่วมไร่นาที่จะทำให้พืชสวนเสียหาย ซึ่งปัจจุบันการปลูกพืชโดยไม่ใช่ดินนั้น ทาภาษาวิชาการเรียกว่าระบบ “ไฮโดรโพนิกส์” ได้พัฒนาไปมาก โดยทั่วไป ในประเทศพัฒนามักทำการปลูกภายใต้เรือนกระจก มีการควบคุมสภาพแวดล้อม การผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบต่าง ๆ การเพาะต้นกล้าและการย้ายกล้าลงปลูกในระบบ จะเป็นแบบอัตโนมัติ และ กึ่งอัตโนมัติ ส่วนประเทศไทยก็ได้มีการก้าวตามเทคโนโลยี่ดังกล่าว โดยมีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเช่นกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

ผักไร้ดิน การปลูกพืชไร้ดิน

สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือ “ไฮโดรโพนิกส์” หมายถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน พืชที่ปลูกจะได้รับจากธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผ่านสารละลายธาตุอาหารที่ให้กับพืชเท่านั้น ปกติการปลูกพืชชนิดใด ๆ ต้องใช้วัสดุที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้แก่ ดินชนิดต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก พีท มอส เป็นต้น ส่วนการปลูกพืชแบบไม่ใช่ดินจะใช้วัสดุอื่นที่ไม่มีธาตุอาหารเป็นที่ยึดให้แก่รากพืชแทนอาทิ ทราย กรวด น้ำ ขุยมะพร้าว แกลบ ใยหิน เพอร์ไรท์ เวอร์มิคูไลท์ เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจึงเป็นการปลูกพืชในลักษณะที่เราไม่เปิดโอกาสให้พืชได้อาหารจากแหล่งอื่นเลย นอกจากได้จากสารละลายธาตุอาหารที่เราให้แก่พืชเท่านั้น ทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้กับพืชได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโพนิกส์มาใช้เชิงพาณิชย์ ถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโพนิกส์ในเอเชีย โดยศูนย์วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยโอซาก้า ซึ่งเป็นศูนย์ใหญ่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นในการค้นคว้าวิจัยในการปลูกพืชไร้ดินให้พัฒนามากยิ่ง ๆ ขึ้น

ทั้งนี้การปลูกผักด้วยวิธีไฮโดรโพนิกส์ในญี่ปุ่นพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเจริญเติบโตของเมืองและราคาที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้การเกษตรด้วยระบบดั้งเดิมถูกจำกัดโดยราคาที่ดิน ทั้งนี้ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน (Soilless Culture) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับของทั่วโลกในเรื่องของการช่วยเพิ่มผลผลิตและยังได้ผักที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

จากการทดลองปลูกพืชเปรียบเทียบระหว่างปลูกในดินและปลูกโดยไม่ใช้ดิน พบว่า การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินพืชจะโตเร็วและให้ผลผลิตสูงกว่า การที่พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่ว่าจะปลูกด้วยวิธีใดพืชย่อมต้องการแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของไอออนที่เพียงพอ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม นอกจากนี้พืชยังต้องการแสง คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน และต้องมีลมเป็นตัวพัดพาให้เกิดการดูดซับได้ดีขึ้น ซึ่งทุกอย่างจะผ่านการควบคุมอย่างเป็นระบบในสายการผลิตทั้งหมด

ศาสตราจารย์ ฮารุฮิโกะ มุราเสะ (Prof.Haruhiko Murase) แผนกวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยจังหวัดโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การปลูกพืชในสารละลายที่เรียกว่าไฮโดรโพนิกส์ของศูนย์วิจัยฯนี้ เน้นการศึกษาการควบคุมสภาพแวดล้อมในทุกปัจจัยตั้งแต่การหมุนเวียนของอากาศ อาหาร อุณหภูมิ แสงสว่าง และน้ำในระบบที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้พืชผักเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่ากับพลังงานที่เสียไปยิ่งขึ้น ที่เห็นจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ของศูนย์นี้ ได้มีการทดลองนำคลื่นแสงต่างสีเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของผักในกระบะเพาะในระยะต่าง ๆ ด้วย ทางศูนย์ยังเน้นว่าไม่มีการปล่อยน้ำเสียออกสู่ระบบนิเวศน์ของเมือง น้ำในระบบจะถูกหมุนใช้อยู่ภายในอย่างมีประสิทธิภาพ

ศาสตราจารย์ ฮารุฮิโกะ มุราเสะ กล่าวอีกว่า ที่ศูนย์วิจัยภายในมหาวิทยาลัยจังหวัดโอซาก้า ได้ทดลองปลูกผักกาด เบื้องต้นแยกปลูกจากต้นกล้าที่เพาะไว้ล่วงหน้าแล้วประมาณสองสัปดาห์ จะใช้เวลาปลูกต่ออีกเพียง 14 วัน ก็สามารถเก็บขายได้ โดยจัดเก็บส่งไปที่ร้านแฮมเบอร์เกอร์ และ ร้านแซนด์วิชซับเวย์ อย่างไรก็ตามในโปรแกรมนี้ยังผลิตได้ไม่มากได้แค่ 250 ต้นต่อวัน ซึ่งยังไม่เป็นแบบอุตสาหกรรม จึงทำให้ราคาแพงมาก แต่ถ้าหากในอนาคตมีการผลิตจำนวนมากราคาอาจจะถูกลงกว่านี้สิบเท่า แต่ในเมืองเกียวโตสามารถปลูกได้เป็นหมื่นต้น อย่างไรก็ตามโครงการนี้ทั้งเอกชน รัฐบาล และ มหาวิทยาลัย ต่างร่วมมือกันต่อไป

ทั้งนี้ การเพาะปลูกผักกาดใช้ระบบโรงปิด Plant Factory ซึ่งเป็นการเพาะปลูกผักภายในอาคารและอาศัยแสงไฟในการเจริญเติบโตของพืช ไฟใช้ LED ร่วมกับฟลูโอเรสเซนต์ที่เปิดให้แสงตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ช่วยประหยัดได้มาก ทางศูนย์มีการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Panel) และมีโครงการนำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักอย่างเต็มระบบต่อไปในอนาคต

อย่างไรก็ตามระบบการปลูกผักแบบไร้ดินเป็นเทคโนโลยีที่ลงทุนค่อนข้างสูง แต่จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการผลิตพืชที่สามารถควบคุมคุณภาพและสามารถผลิตได้อย่างสม่ำเสมอและยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องโรคแมลงศัตรูพืชได้ และปลอดภัยกับผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคในญี่ปุ่นคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ในอนาคตเราอยากปลูกข้าว ข้าวสาลี กล้วย เป็นต้น หากทำได้ก็จะมีการเผยแพร่ความรู้และผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศต่อไป

หากเกษตรกรผู้ปลูกต้องการมีรายได้ที่ดีตลอดทั้งปีจากการปลูกผักแบบไร้ดินจะต้องเริ่มตั้งแต่การทำผลผลิตให้ได้คงที่ มีคุณภาพ และราคาที่ไม่ผันผวนมากจนเกินไป ซึ่งการจะปลูกพืชให้ได้คุณภาพนั้น ผู้ปลูกจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นในญี่ปุ่นจึงมีวิธีการควบคุมคุณภาพเหล่านี้ด้วยการปลูกพืชภายในโรงเรือนหรือ Green House และ Plant Factory ซึ่งเป็นการปลูกผักในระบบปิด มีการควบคุมความสะอาด ปลอดเชื้อ โดยใช้แสงสว่างจากหลอดไฟเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ในญี่ปุ่น

จะเห็นได้ว่า การปลูกพืชไร้ดินมีข้อดีตรงที่สามารถปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ให้เหมาะสม และการที่ปลูกพืชได้ตลอดเวลาไม่ขึ้นกับฤดูกาลทำให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล และต่อไปในอนาคตเราอาจจะเห็นประเทศไทยมีการปลูกพืชผัก ผลไม้ ต่าง ๆ แบบไร้ดิน หรือปลูกข้าวไร้นาได้ตลอดปี โดยไม่ต้องห่วงปัญหาภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม.

Agricultural articles

Potatoes Casserole

Sweet potatoes, and the Starchy potatoes VS Waxy potatoes. แม้ว่าโลกนี้จะมีมันฝรั่งมากกว่าห้าพันชนิดด้วยกัน ที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านรูป ลักษณะ สีสัน และรสชาด แต่ในแง่ของการนำมาปรุงอาหารแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ทนแล้ง โตเร็ว

ข้าวไร่พันธุ์สามเดือน ข้าวที่ทนแล้งได้ดี และปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โตเร็ว ให้ผลผลิตสูง เหมาะกับยุคเศรษฐกิจตอนนี้ที่สุด

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

ทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

นับได้ว่า พืชสมุนไพร ถูกแฝงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยมานานแล้ว เพราะทั้งอาหารที่บริโภคทุกวันนั้นมีส่วนประกอบของพืชสมุนไพรแทบทั้งสิ้น ทั้งอร่อยและมีสรรพคุณช่วยในการบำบัดโรค รวมไปถึงการดื่มเพื่อดับกระหายคลายร้อน โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว

อ่านบทความนี้ต่อ

Herbs information

แก่นตะวัน สุดยอดว่านสมุนไพร

แก่นตะวัน หรือ Jerusalem Artichoke (Helianthus tuberosus) เป็นว่าน หรือพืชดอกในตระกูลทานตะวัน

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

ทำไมชาวนาถึงไม่รวย

จากต้นฉบับงานเขียนเรื่อง “ทำไมชาวนาไม่รวย…ทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเงินสนับสนุน…อยู่ได้ด้วยเงินประกันรายได้” ที่เว็บ เรื่องเล่าข่าวเกษตร (อ้างอิงท้ายเรื่อง)

อ่านบทความนี้ต่อ

Best Infomal

งานเกษตรแฟร์ บางพระ ชลบุรี

ใกล้จะเริ่มแล้วสำหรับ งานเกษตรแฟร์ ที่บางพระ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ขอเชิญเที่ยวงาน เกษตรบางพระแฟร์ 54 “บัวโลกบานที่บางพระ” ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2554

อ่านบทความนี้ต่อ